เกริ่นนำ

........สวัสดี ทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม บทความนี้เนื่องจากผมได้ทำบล็อคนี้เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอน วิชาชีพครู ในภาคเรียนที่1//2558 เป็นสื่อการเรียนที่ทันสมัยที่ใช่ในห้องเรียนและเว็บบล็อคมีความสะดวกสบายทำให้ได้ข้อมูลและความรู้ทั้งข้อมูลและรูปภาพที่เกี่ยวข้องกับความเป็นครูช่วยให้ผู้เรียนสะดวกสบายมีอิสระในการศึกษาอย่างค้นคว้า ยิ่งไปกว่านี้เรายังนำข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าอย่ากว้างไกลมาตรวจสอบและเรีนรู้อย่างลึกซึ่งในห้องเรียนปกติ ผมหวังว่าเว็บบล็อคนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกคนไม่มากก็น้อย

welcome

ส่งงานPower point -3บท

บทที่1
สไลด์1
ครูพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายคําว่า ครู หมายถึง ผู้สั่งสอนศิษย์, ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่
ศิษย์. ส่วนคําว่า อาจารย์ หมายถึง ผู้สั่งสอนวิชาความรู้; คําที่ใช้เรียกนําหน้าชื่อบุคคลเพื่อแสดงความยกย่องว่ามีความรู้ในทาง ใดทางหนึ่ง.
นอกจากนี้ในหนังสือจริยศาสตร์และจริยธรรมเพื่อพัฒนาชีวิตและสังคม ของศาสตราจารย์พิเศษจํานงค์ ทองประเสริฐ
สไลด์2
ราชบัณฑิต ได้ให้ความหมายที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของคําว่า ครู กับอาจารย์ ไว้โดยสรุปว่า
คําว่า ครู ตามศัพท์แปลว่า ผู้หนัก หมายถึง ผู้ที่ต้องมีภาระหนักในการที่จะอบรมสั่งสอนศิษย์และในการถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์
ส่วนคําว่า อาจารย์ แปลว่า ผู้ที่ศิษย์จะต้องประพฤติตอบด้วยความเอื้อเฟื้อ คือความเคารพนบนอบ ในทาง
พระพุทธศาสนาถือกันว่า ครูเป็นทิศเบื้องขวา เพราะเป็นบุคคลที่สําคัญยิ่งในอันที่จะสร้างบุคคลในสังคมให้เป็นผู้มีความรู้ มี
คุณธรรม อันจะเป็นกําลังทางสังคมของประเทศชาติต่อไป
สไลด์ 3
ดังนั้น คําว่า ครูจึงมีความหมายที่ลึกซึ้งกว่าคําว่า อาจารย์มาก
เพราะแสดงถึงความสัมพันธ์อันแนบแน่นที่ครูมีต่อ ศิษย์ด้วยครูจะต้องเอาใจใส่ในการให้ความรู้และอบรมสั่งสอนศิษย์ทั้งในห้องเรียน
ในโรงเรียน และแม้แต่ศิษย์ซึ่งได้ร่ําเรียนจบไปแล้ว ครูก็ยังมีความผูกพันทางด้านจิตใจกับศิษย์
ยังมีความเป็นห่วงความกังวลในอนาคตของศิษย์ เป็นผู้ที่คอยปลุกปลอบและให้กําลังใจแก่ศิษย์เสมอ
สไลด์4
ครู ซึ่งมาจากคำว่า คุรุ แปลว่า หนัก ฉะนั้นแล้ว ครู จึงเป็นผู้หนัก หนักในเรื่องใดบ้าง เช่น หนักในการที่จะสั่งสอนศิษย์ให้เป็นบุคคลที่มีความรู้ หนักในการที่จะสอนคนหลาย ๆ คนให้เป็นคนที่ดี เป็นบุคคลที่สังคมมีความต้องการ และการที่เราจะสามารถสอนคนเหล่านั้นได้เราจะต้องรู้เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคล เหล่านั้นดีพอสมควร เราจึงจะสามารถสอนเขาได้ ซึ่งเข้ากับสุภาษิตจีนที่ว่า รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้งการสอนคนก็เช่นเดียวกัน การสอนก็เปรียบเสมือนกับการรบที่จะต้องมีการใช้ แรงกาย แรงใจ และกำลังสมองในการที่จะมาคิดกาวิธีทางที่จะเอาชนะข้าศึก ซึ่งก็เปรียบได้กับ ความไม่รู้หรือความเขลาในตัวศิษย์ และการเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติ เรื่องราว หรือพื้นเพของคนที่เราเรียกว่าศิษย์นั้นก็เป็นอีกกลยุทธหนึ่งที่จะเอาชนะ ความเขลา หรือข้าศึกในการรบได้

สไลด์5
ความ หมายของครู กล่าวคือ ผู้ที่เป็นครูควรมีภาวะดังกล่าวอันได้แก่ ความรู้ ความประพฤติและคุณธรรม ไม่ว่าครูนั้นจะอยู่ ณ ที่ใด หน่วยงานไหน หรือซีกใดของโลก
อย่าง ไรก็ตาม ยังมีความหมายของครู อีกอย่างหนึ่งที่กำหนดโดยกฎหมายให้เป็น รูปแบบ แบ่งเป็นชั้นหรือระดับ สูงต่ำแตกต่างกัน และอาจเกิดสิ่งที่เรียกว่าเกียรติหรือศักดิ์ศรี แทรกซ้อนอยู่ในรูปแบบนั้นด้วย ซึ่งบางที อาจปิดกั้นไม่ให้มองเห็นความหมายตามเนื้อแท้ ก็ได้ ความหมายของครูที่กำหนดโดยกฎหมายนี้ อาจเรียกว่า ความหมายของครูตามรูปแบบ

สไลด์6

ผู้เขียนใช้ข้อความนี้ เพราะเป็น ความหมายที่ไม่แน่นอนตลอดไป อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ตามความเปลี่ยนแปลงของกฎหมาย ซึ่งขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการอีกทีหนึ่ง ถ้ากฎหมายกำหนดครูให้เป็นรูปแบบระดับใด ความหมายของครูก็จะเปลี่ยนไปตามรูปแบบระดับนั้น ๆ
ตัวอย่าง ความหมายของครูตามรูปแบบ จะเห็นได้จากกฎหมายบางฉบับ เช่น พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. ๒๕๒๓ กำหนดรูปแบบของครูโดยเรียกว่า ข้าราชการครูซึ่งมี ๓ กลุ่ม ได้แก่ ๑) กลุ่มที่มีหน้าที่เป็นผู้สอนในหน่วยงานทางการศึกษา ๒) กลุ่มที่มีหน้าที่เป็นผู้บริหารและให้การศึกษาใน หน่วยงานทางการศึกษา และ ๓) กลุ่มที่มี หน้าที่เกี่ยวกับการให้การศึกษาที่ไม่สังกัดโรงเรียน วิทยาลัย หรือสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่น ของกระทรวงศึกษาธิการ
เฉพาะกลุ่มที่ ๑ ซึ่งทำหน้าที่สอนเป็นหลัก ก็มีการแบ่งตำแหน่ง

สไลด์7
เป็นระดับ ๆ ไปจากล่างขึ้นไปสูง คือ
๑. ครู ๑
๒. ครู ๒
๓. อาจารย์ ๑
๔. อาจารย์ ๒
๕. อาจารย์ ๓
๖. ผู้ช่วยศาสตราจารย์
๗. รองศาสตราจารย์
๘. ศาสตราจารย์
และบางตำแหน่งก็กำหนดให้มีได้ เฉพาะในบางหน่วยงาน คือตำแหน่งที่ ๖-๗-๘ จะมีได้เฉพาะในหน่วยงานที่มีการสอนถึง ระดับปริญญาเท่านั้น

สไลด์8

ในสถาบันอุดมศึกษาบางสังกัด กล่าวคือ มหาวิทยาลัย ได้มีการกำหนดแบบของครูเป็นพิเศษต่างหากออกไปจน ไม่มีกลิ่นไอของครูเลยทีเดียว ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายคนละฉบับกัน
ความ หมายของครูตามรูปแบบอาจ มีส่วนกระทบในทางลบต่อความหมายของครูตามเนื้อแท้ก็ได้ และคำว่า ครูอาจจะค่อย ๆ เลือนหายไปจากความสนใจของสังคมโดย อาจถูกมองว่าไม่เหมาะกับยุคสมัย เช่น แทนที่ จะเรียกว่า ครูก็เรียกว่า อาจารย์หรือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์หรือคำอื่น ๆ (อาจมีขึ้นภายหลัง) ดูจะเท่หรือโก้กว่าหรือทันสมัยกว่า

สไลด์9
กฎหมายที่กำหนดขึ้นในระยะหลัง ๆ ดูจะพยายามลดความสำคัญของคำว่า ครูลง จะโดยจงใจหรือไม่ก็ตาม มองเฉพาะในแง่สถาบันผลิตครู เช่น วิทยาลัยครู ได้กลายมาเป็นสถาบันราชภัฏ มหาวิทยาลัยที่ผลิตครู แม้มีคณะที่รับผิดชอบเรื่องครู ก็พยายามที่กลายชื่อเป็นอย่างอื่น เช่นศึกษาศาสตร์ หรือบุคลากรทางการศึกษา
นาน ๆ ไป คำว่า ครูคงจะหมดไป และคนที่เป็นครู อาจจะเป็นใครก็ได้ที่สามารถทำหน้าที่สอนได้ จนที่สุดแม้แต่เครื่องเทคโนโลยีก็อาจเป็นครูได้ เพราะสามารถทำหน้าที่สอนให้เกิดความรู้ได้ ดังนั้น องค์ประกอบแห่งความเป็นครู ที่กล่าวข้างต้น คือ ความรู้ ความประพฤติ และคุณธรรม อาจเหลือเฉพาะองค์ประกอบเดียวคือ ความรู้เท่านั้นก็ได้ หลับตาดูก็แล้วกัน หากเป็นเช่นนั้นจริง สังคมในอนาคตจะวุ่นวายแค่ไหนสุดที่จะเดาได้

สไลด์ที่10
บทบาทของครู
ครู คือผู้นำทางวิญญาณ ทั้งแก่บุคคลและสังคม ใน ๓ ประการคือ
๑. สอนให้รู้จักความรอดที่แท้จริง คือการดับทุกข์
๒. สอนให้รู้จักความสุขที่แท้จริง คือความสุขจากการทำหน้าที่ หน้าที่นั้นแยกได้ ๒ ประการ ประการที่ ๑ คือ การบริหารชีวิตให้เป็นสุข ประการที่ ๒ คือ การใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์มากที่สุด ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น
๓. สอนให้รู้จักหน้าที่ที่แท้จริง คือรู้จักหน้าที่ในฐานะที่เป็นสิ่งสูงสุด รักที่จะทำหน้าที่และมีความสุขในการทำหน้าที่
๒. ครูเป็นผู้สร้างโลก
บุคคล ในโลกจะดีหรือเลว ก็เพราะการศึกษาและผู้ให้การศึกษา ก็คือครู ดังนั้น ครูจึงเป็นผู้สร้างโลกในอนาคต โดยผ่านศิษย์ โลกที่พึงประสงค์คือ โลกของคนดีอันเปรียบได้กับ
๑. มนุษยโลก คือ สร้างบุคคลที่มีจิตใจสูง
๒. พรหมโลก คือ สร้างบุคคลที่ประเสริฐรักเพื่อนมนุษย์ มีพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
๓. เทวโลก คือ สร้างบุคคลให้มีหิริ โอตตัปปะ
๓. หน้าที่ของครู
หน้าที่ ของครู คือสร้างความอยู่รอดของสังคม โดยการให้การศึกษาที่สมบูรณ์แก่ศิษย์ การศึกษาที่สมบูรณ์คือ การศึกษาที่ครบองค์สาม อันได้แก่
๑. ให้ความรู้ทางโลก หมายถึง การเรียนหนังสือ เพื่อพัฒนาสติปัญญาและการเรียนวิชาชีพ เพื่อให้สามารถอยู่รอดทางกาย
๒. ให้ความรู้ทางธรรม เพื่อให้ใจอยู่รอด คือรอดพ้นจากความครอบงำของกิเลส มีความเป็นมนุษย์ คือใจสูง ใจสว่าง และใจสงบ
๓. ให้รู้จักทำตนให้เป็นประโยชน์ ทั้งต่อตนเองและสังคม


บทที่2
สไลด์1
ครูที่แท้จริงนั้นต้องเป็นผู้ที่กระทำแต่ความดี คือ
ต้องหมั่นขยันอุตสาหะพากเพียร
ต้อง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และ เสียสละ
ต้องหนักแน่น อดทน อดกลั้น
ต้องรักษาวินัย สำรวม ระวังความประพฤติของตนให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม
ต้องปลีกตัวปลีกใจออกจากความสบาย และความ สนุกสนานร่าเริงที่ไม่ควรแก่เกียรติภูมิของตน
ต้องตั้งใจให้มั่นคงและแน่วแน่
ต้องรักษาความซื่อสัตย์ รักษาความจริงใจ
ต้องมีเมตตา และหวังดี
ต้องวางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ
ต้องมั่นอบรมปัญญาให้เพิ่มพูนสมบูรณ์ขึ้นทั้งในด้านวิทยาการ และความฉลาดรอบรู้ให้เหตุและผล

สไลด์2

คุณลักษณะที่ดีของครู หมายถึง เครื่องหมายหรือสิ่งที่ชี้ให้เห็นความดี หรือลักษณะที่ดีของครูและเป็นลักษณะที่ต้องการของสังคม
ลักษณะครู ที่ดี ควรมีความรักและความเมตตาต่อศิษย์ มีความเสียสละ หมั่นเพียรศึกษา ปรับปรุงวิธีการสอน เพื่อพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ต้องมีความ
เข้าใจและเอาใจใส่ตัวศิษย์ทุกคนเป็นกำลังใจและช่วยสร้างแรงบัลดาลใจให้กับศิษย์เพื่อให้เขาเป็นคนใฝ่เรียนรู้ เป็นแบบอย่างที่ดีมีจรรยาบรรณในวิชาชีพครู

มีจิตวิญญาณของความเป็นครู สามารถถ่ายทอดความรู้ได้เป็นอย่างดี
มีวิธีการสอนที่หลากหลาย มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความยุติธรรม ยอมรับฟังความคิดเห็น
ของผู้อื่น รวมถึงยอมรับและเข้าใจความแตกต่างของเด็กแต่ละคนด้วย
บทที่3
สไลด์1

ความเป็นมาของครู
จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึก ถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมากในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอ คณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริม ความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน

สไลด์2

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญที่นักศึกษาจะได้เรียนรู้และพัฒนาการเรียนการสอน และงานในหน้าที่ครูอย่างเข้มข้นและเป็นรูปธรรม เป็นโอกาสที่จะได้นำความรู้และทฤษฎี ไปประยุกต์ใช้ และสร้างองค์ความรู้ทางการศึกษา เพื่อสร้างสรรค์และแก้ปัญหาในกระบวนการทำงาน โดยมีครูพี่เลี้ยง อาจารย์นิเทศ และผู้บริหารสถานศึกษา เป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำ และความช่วยเหลือ

สไลด์3

จับกระแสการพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21: ข้อคิดและทิศทางเพื่อการพัฒนาครูไทย

โครงการจับกระแสความเคลื่อนไหวและนวัตกรรมในการจัดการศึกษาและพัฒนาเด็กและเยาวชน(INTREND)โดยสถาบันรามจิตติภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ได้จัดเสวนาครั้งที่ 5 เรื่องจับกระแสการพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21 : ข้อคิดและทิศทางเพื่อการพัฒนาครูไทย" กระแสการพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21 ได้กลายเป็นปรากฏการณ์สำคัญของการปฏิรูปการศึกษาทั่วโลก

สไลด์4

จากการประมวลวรรณกรรมแนวทางและนวัตกรรมการพัฒนาครูที่ดูจะถูกเน้นหนักมากในปัจจุบันน่าจะมีสาระสำคัญครอบคลุมแนวโน้มเชิงวิธีการ

5ประการคือ


สไลด์5

1) การสร้างระบบครูผู้เชี่ยวชาญเป็น Coach ประกบตัวฝึกปฏิบัติให้ครู เป็นการทำงานอย่างใกล้ชิดระหว่างครูผู้มีประสบการณ์กับเพื่อนครูในการแก้ปัญหาการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคล

การมีระบบพี่เลี้ยงและการให้คำปรึกษาหารือ (Coaching &
Mentoring
) จึงกลายเป็นกลไกและวิธีการสำคัญของการพัฒนาครูในปัจจุบัน


2) การผสมผสานกระบวนการวัดผลเข้ากับกระบวนการสอนอย่างแนบแน่น
ปรับให้ยืดหยุ่นหลากหลายใช้ได้ในหลายสถานการณ์ หลายเป้าหมายการวัด
โดยเฉพาะการวัดทักษะหรือคุณลักษณะใหม่ๆ ตามกรอบคิดร่วมสมัย

สไลด์6


3) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาครู
เพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาครูทางไกลผ่านรูปแบบ Web-Based Training ต่างๆ และเพื่อ จัดการความรู้ระหว่างครูด้วยกัน




4)การเปลี่ยนไปสู่โฉมหน้าใหม่โรงเรียนเรียนรู้
ครูนักวิจัยจากกรณีศึกษาประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศที่ต่างพยายามปรับรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนไปสู่การเป็น
องค์กรการเรียนรู้ที่เน้นให้ครู
เรียนรู้และพัฒนาตนเองจากประสบการณ์สะสมซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้น

สไลด์7


5)ยุทธศาสตร์การสร้างแรงบันดาลใจ จุดไฟพลังครู(Motivation
& Inspiration)
เน้นการค้นหาและหนุนเสริม
ครูผู้จุดไฟการเรียนรู้ครูในแบบดังกล่าวจะถูกเน้นการฝึกให้รู้จักตั้งคำถามดีๆ
เชื่อมโยงประเด็นสำคัญและตั้งโจทย์ชวนเด็กคิดได้มาก

แนวทางของการพัฒนาครูมักใช้ตัวอย่างจากครูผู้สร้างแรงบันดาลใจ

ด้วยกันมาแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดประสบการณ์หรือการเน้นให้ฝึกตั้งคำถามดลใจอันจะทำให้ผู้เรียนเกิดการใฝ่เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิตต่อไป


วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2558

คำอธิบายรายวิชา

……….เรียนรู้จากครูต้นแบบที่มีคุณลักษณะเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ให้สามารถดำรงตนให้เป็นผู้มีความรู้ในเนื้อหา ยึดมั่นผูกพันและศรัทธาในวิชาชีพ  ปฏิบัติตนให้อยู่ในจรรยาบรรณวิชาชีพครู สร้างปฏิสัมพันธ์และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมวิชาชีพ เพื่อปรับปรุงการจักการเรียนรู้และการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง

จุดมุ่งหมายของรายวิชา

1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายและความสำคัญของความเป็นครู

2. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และทักษะในวิชาชีพครูเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ ภาระงานของครู พัฒนาการของวิชาชีพครู

3. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และทักษะเกี่ยวกับเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู จรรยาบรรณวิชาชีพครู และกฎหมายที่เกี่ยวกับครู

วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงวิชา

1.เพื่อปรับปรุงพัฒนาเนื้อหาสาระและกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก

2.เพื่อปรับปรุงพัฒนาเนื้อหาสาระและกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกันเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา

แผนการเรียนรู้             
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1  ความหมายและความสำคัญของครู

ครู อาจารย์ และคำที่มีความหมายที่คล้ายคลึงกัน
ครูกับความเป็นครู
ความสำคัญของครู
บทบาทและหน้าที่ของครู

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2  วิชาชีพครู
วิชาชีพครู และองค์กรวิชาชีพครู
คุณลักษณะของวิชาชีพทั่วไป
คุณลักษณะของวิชาชีพครู
องค์กรที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพครูไทย

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3  ประวัติและพัฒนาการฝึกหัดครู
ความเป็นมาของครู
การฝึกหัดครู
การพัฒนาครูในศตวรรษใหม่

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4  ลักษณะของครูที่ดี
เอกลักษณ์ของครูที่ดี
ทัศนะเกี่ยวกับลักษณะของครูที่ดี
ลักษณะของครูที่ดีตามแนวพระพุทธศาสนา
ลักษณะของครูที่ดีตามแนวพระราชดำรัส
ลักษณะของครูที่ดีตามทัศนะของบุคคลต่างๆ
ลักษณะของครูที่ดีจากผลงานการวิจัย
ลักษณะครูที่ดีตามเกณฑ์มาตรฐานของคุรุสภา
ลักษณะครูที่ดีที่พึงประสงค์

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5  คุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณของครู
คุณธรรม
-
หาความหมายของคุณธรรม
จริยธรรม
-
หาความหมายของจริยธรรม
หลักคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับครู
จรรยาบรรณ
-
หาความหมายของจรรยาบรรณ
จรรยาบรรณของครู
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพครู

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6  การสร้างศรัทธาในวิชาชีพครู
ความหมายของศรัทธา
หลักธรรมในการศรัทธาในวิชาชีพครู
อริยสัจ 4
ฆราวาสธรรม 4
พรมวิหาร 4
พลธรรม 4
อธิฐานกรรม 4
ค่านิยม
-
ความหมายและความสำคัญของค่านิยม
ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ
-
การปลูกฝังค่านิยม
-
ค่านิยมของครู
การพัฒนาค่านิยมในวิชาชีพครู

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7  การสร้างศักยภาพครู
ความหมายของศักยภาพ
ความหมายของสมรรถภาพ
คุณภาพของครูไทย
การพัฒนาศักยภาพและสมรรถภาพความเป็นครู

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 บุคคลแห่งการเรียนรู้สู่ผู้นำทางวิชาการ
ความหมายของการเรียนรู้
ความหมายของผู้นำ
ความหมายของวิชาการ
แหล่งการเรียนรู้ที่เหมาะสม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 การส่งเสริมและยกระดับวิชาชีพครู
การส่งเสริมและพัฒนาครู
แนวทางการส่งเสริมและยกระดับวิชาชีพครู
เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู

รูปแบบของกระบวนการเรียนการสอน

-วิธีสอน เป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning)

-เนื้อหาบทเรียน  เนื้อหาวิชาความเป็นครู


 

วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558

ความหมายของครู

 ความหมายของครู

ครู…. หมายถึง ผู้สั่งสอนศิษย์ หรือ ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ ซึ่งมีผู้กล่าวว่ามาจากคำว่า ครุ (คะ-รุ) ที่แปลว่า หนัก" อันหมายถึง ความรับผิดชอบในการอบรมสั่งสอนของครูนั้น นับเป็นภาระหน้าที่ที่หนักหนาสาหัสไม่น้อย กว่าคน ๆ หนึ่งจะเติบโตเป็นผู้มีวิชาความรู้ และเป็นคนดีของสังคม ผู้เป็น "ครู" จะต้องทุ่มเทแรงกายและแรงใจไม่น้อยไปกว่าพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดเลย ซึ่งในชีวิตของคน ๆ หนึ่ง นอกเหนือไปจากพ่อแม่ซึ่งเปรียบเสมือน "ครูคนแรก" ของเราแล้ว การที่เด็ก ๆ จะดำรงชีพต่อไปได้ในสังคม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี "ครู" ที่จะประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ เพื่อปูพื้นฐานไปสู่หนทางทำมาหากินในภายภาคหน้าด้วย ดังนั้น "ครู" จึงเป็นบุคคลสำคัญที่เราทุกคนควรจะได้แสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อท่าน

แหล่งอ้างอิง:

http://hilight.kapook.com/view/19311


 














หน้าที่และความรับผิดชอบของวิชาครู

หน้าที่และความรับผิดชอบของวิชาครู

ครู...

               คงไม่ต้องพรรณนาถึงคุณงามความดีอะไรอีก เพราะมักมีผู้สรรเสริญทุกครั้งอยู่แล้วเมื่อพูดถึงครูในยามปกติ  ทุกๆคนมักกล่าวว่า ครูมีความดีมากมาย ควรแก่การเคารพนับถือยกย่องให้เทียบเท่าบิดามารดาผู้ให้กำเนิด แต่เมื่อครูทำผิด ทำไมถึงกลายเป็นว่า ครูเป็นแค่คนๆหนึ่ง ย่อมพลาดพลั้งกันได้ ฟังแล้วเหมือนปัดความรับผิดชอบอย่างไรชอบกล เพราะขึ้นชื่อว่า ครู ก็น่าจะมีจิตวิญญาณและจรรยาบรรณแห่งความเป็นครูด้วย หรืออย่างน้อยๆ น่าจะมีค่าแห่งความเป็นคน หลงเหลืออยู่บ้าง ไม่ใช่สักแต่ทำไปเพราะเป็นอาชีพ

ถ้าอย่างนั้นก็ขอให้เปลี่ยนสรรพนามใหม่เป็น ผู้รับจ้างสอน แทน

 

หน้าที่ความรับผิดชอบของครู

    ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542  ให้ความหมายไว้ว่า

    “ หน้าที่” หมายถึง กิจที่ควรกระทำหรือกิจที่ต้องกระทำ

    ส่วนคำว่า  ความรับผิดชอบ หมายถึง หน้าที่ประจำของแต่ละบุคคลเมื่อได้รับมอบหมาย และการปฏิบัติงานและหน้าที่โดยเฉพาะ ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดีที่สุดตามความสามารถของตน
         
 ครูย่อมมีความรับผิดชอบมากมายด้วยเหตุผลเพราะครูเป็นคนที่ผู้ปกครองไว้วางใจว่าจะดูแลลูกหลานของพวกเขาได้ ถ้าครูรับเด็กมาดูแลแล้วจำเป็นต้องดูแลให้ถึงที่สุด  ถ้าทำไม่ได้ ถือว่าครูบกพร่องในหน้าที่  ขาดความรับผิดชอบ  เมื่อครูบกพร่อง และเป็นผู้ควรรับผิดตามจรรยาบรรณของครู

          ครูต้องรับหน้าที่ต่างๆมากมาย ความรับผิดชอบของครูก็ต้องทวีขึ้นตามหน้าที่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมต่างๆของสังคมรอบตัวครู  หน้าที่ความรับผิดชอบดังกล่าว  ได้แก่

  หน้าที่ความรับผิดชอบของครูต่อศิษย์  เช่น การแนะนำสั่งสอนดี มีความรักความเมตตาเป็นพื้นฐาน

หน้าที่ความรับผิดชอบของครูต่อสถานศึกษา   เช่น   ช่วยสร้างศรัทธาจากประชาชนให้กับสถาบัน  ช่วยพัฒนาโรงเรียนในทุกๆด้าน

 หน้าที่ความรับผิดชอบของครูต่อเพื่อนครู เช่น รักษาชื่อเสียงของคณะครู และให้เกียรติซึ่งกันและกัน

น้าที่ความรับผิดชอบของครูต่อผู้ปกครองนักเรียน เช่น ร่วมมือกับผู้ปกครองเพื่อแก้ไขปัญหาของเด็ก ซึ่งอาจเกิดจากการเรียน หรือความประพฤติ

หน้าที่ความรับผิดชอบของครูต่อผู้บังคับบัญชา เช่น สนับสนุนนโยบายที่  ผู้บังคับบัญชากำหนดไว้ด้วยความสุจริตใจ ไม่กล่าววาจาเท็จหรือรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา

หน้าที่ความรับผิดชอบของครูต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์   ผู้เป็นครูจะต้องพยายามรักษาหน้าที่ และความรับผิดชอบเหล่านี้ด้วยความสำนึก เต็มใจ เคร่งครัด และมีประสิทธิภาพ

             ครูที่มีความรับผิดชอบในตัวเอง  มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่  และมีความอดทน ใฝ่รู้ใฝ่เรียนอยู่ตลอดเวลา  มีจิตใจสูง มีศีลธรรม  คุณธรรม  มีเมตตาแก่ผู้เรียน  เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว  จะทำให้ครูเป็นครูดีมีคุณภาพ

 

สุดท้ายนี้...

             ขอฝากกลอนซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับหัวข้อนี้  คือว่าชอบเป็นการส่วนตัว  ของคุณเนาวรัตน์    พงษ์ไพบูลย์    มาฝากคุณครูทุกท่านด้วยค่ะ

ครูคือครู                        ครูคือใคร                   ในวันนี้ 
ใช่อยู่ที่                          ปริญญา                      มหาศาล
 
ใช่อยู่ที่                          เรียกว่า                       ครูอาจารย์
 
ใช่อยู่นาน                     สอนนาน                    ในโรงเรียน
 
ครูคือผู้                
 ชี้นำ                             ทางความคิด 
ให้รู้ถูก                        
 รู้ผิด                             คิดอ่านเขียน 
ให้รู้ทุกข์               
รู้ยาก                            รู้พากเพียร 
ให้รู้เปลี่ยน                  แปลงสู้                        รู้สร้างงาน
 
ครูคือผู้                
 เสริมสร้าง                   วิญญาณมนุษย์ 
ให้สูงสุด               
กว่าสัตว์                      เดรัจฉาน 
ครูคือผู้               
 สร้างสม                      อุดมการณ์ 
ครูทำงาน                    เหนื่อยเพื่อใคร            ใช่ตนเอง
 
ครูจึงเป็น                    นักสร้าง                     ที่ใหญ่ยิ่ง
 
สร้างคนจริง                สร้างคนกล้า               สร้างคนเก่ง
 
สร้างคนให้                  ได้เป็นตัว                    ของตัวเอง

ขอมอบเพลง                นี้มา                             บูชาครู


..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/203195