เกริ่นนำ

........สวัสดี ทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม บทความนี้เนื่องจากผมได้ทำบล็อคนี้เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอน วิชาชีพครู ในภาคเรียนที่1//2558 เป็นสื่อการเรียนที่ทันสมัยที่ใช่ในห้องเรียนและเว็บบล็อคมีความสะดวกสบายทำให้ได้ข้อมูลและความรู้ทั้งข้อมูลและรูปภาพที่เกี่ยวข้องกับความเป็นครูช่วยให้ผู้เรียนสะดวกสบายมีอิสระในการศึกษาอย่างค้นคว้า ยิ่งไปกว่านี้เรายังนำข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าอย่ากว้างไกลมาตรวจสอบและเรีนรู้อย่างลึกซึ่งในห้องเรียนปกติ ผมหวังว่าเว็บบล็อคนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกคนไม่มากก็น้อย

welcome

ส่งงานPower point -3บท

บทที่1
สไลด์1
ครูพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายคําว่า ครู หมายถึง ผู้สั่งสอนศิษย์, ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่
ศิษย์. ส่วนคําว่า อาจารย์ หมายถึง ผู้สั่งสอนวิชาความรู้; คําที่ใช้เรียกนําหน้าชื่อบุคคลเพื่อแสดงความยกย่องว่ามีความรู้ในทาง ใดทางหนึ่ง.
นอกจากนี้ในหนังสือจริยศาสตร์และจริยธรรมเพื่อพัฒนาชีวิตและสังคม ของศาสตราจารย์พิเศษจํานงค์ ทองประเสริฐ
สไลด์2
ราชบัณฑิต ได้ให้ความหมายที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของคําว่า ครู กับอาจารย์ ไว้โดยสรุปว่า
คําว่า ครู ตามศัพท์แปลว่า ผู้หนัก หมายถึง ผู้ที่ต้องมีภาระหนักในการที่จะอบรมสั่งสอนศิษย์และในการถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์
ส่วนคําว่า อาจารย์ แปลว่า ผู้ที่ศิษย์จะต้องประพฤติตอบด้วยความเอื้อเฟื้อ คือความเคารพนบนอบ ในทาง
พระพุทธศาสนาถือกันว่า ครูเป็นทิศเบื้องขวา เพราะเป็นบุคคลที่สําคัญยิ่งในอันที่จะสร้างบุคคลในสังคมให้เป็นผู้มีความรู้ มี
คุณธรรม อันจะเป็นกําลังทางสังคมของประเทศชาติต่อไป
สไลด์ 3
ดังนั้น คําว่า ครูจึงมีความหมายที่ลึกซึ้งกว่าคําว่า อาจารย์มาก
เพราะแสดงถึงความสัมพันธ์อันแนบแน่นที่ครูมีต่อ ศิษย์ด้วยครูจะต้องเอาใจใส่ในการให้ความรู้และอบรมสั่งสอนศิษย์ทั้งในห้องเรียน
ในโรงเรียน และแม้แต่ศิษย์ซึ่งได้ร่ําเรียนจบไปแล้ว ครูก็ยังมีความผูกพันทางด้านจิตใจกับศิษย์
ยังมีความเป็นห่วงความกังวลในอนาคตของศิษย์ เป็นผู้ที่คอยปลุกปลอบและให้กําลังใจแก่ศิษย์เสมอ
สไลด์4
ครู ซึ่งมาจากคำว่า คุรุ แปลว่า หนัก ฉะนั้นแล้ว ครู จึงเป็นผู้หนัก หนักในเรื่องใดบ้าง เช่น หนักในการที่จะสั่งสอนศิษย์ให้เป็นบุคคลที่มีความรู้ หนักในการที่จะสอนคนหลาย ๆ คนให้เป็นคนที่ดี เป็นบุคคลที่สังคมมีความต้องการ และการที่เราจะสามารถสอนคนเหล่านั้นได้เราจะต้องรู้เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคล เหล่านั้นดีพอสมควร เราจึงจะสามารถสอนเขาได้ ซึ่งเข้ากับสุภาษิตจีนที่ว่า รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้งการสอนคนก็เช่นเดียวกัน การสอนก็เปรียบเสมือนกับการรบที่จะต้องมีการใช้ แรงกาย แรงใจ และกำลังสมองในการที่จะมาคิดกาวิธีทางที่จะเอาชนะข้าศึก ซึ่งก็เปรียบได้กับ ความไม่รู้หรือความเขลาในตัวศิษย์ และการเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติ เรื่องราว หรือพื้นเพของคนที่เราเรียกว่าศิษย์นั้นก็เป็นอีกกลยุทธหนึ่งที่จะเอาชนะ ความเขลา หรือข้าศึกในการรบได้

สไลด์5
ความ หมายของครู กล่าวคือ ผู้ที่เป็นครูควรมีภาวะดังกล่าวอันได้แก่ ความรู้ ความประพฤติและคุณธรรม ไม่ว่าครูนั้นจะอยู่ ณ ที่ใด หน่วยงานไหน หรือซีกใดของโลก
อย่าง ไรก็ตาม ยังมีความหมายของครู อีกอย่างหนึ่งที่กำหนดโดยกฎหมายให้เป็น รูปแบบ แบ่งเป็นชั้นหรือระดับ สูงต่ำแตกต่างกัน และอาจเกิดสิ่งที่เรียกว่าเกียรติหรือศักดิ์ศรี แทรกซ้อนอยู่ในรูปแบบนั้นด้วย ซึ่งบางที อาจปิดกั้นไม่ให้มองเห็นความหมายตามเนื้อแท้ ก็ได้ ความหมายของครูที่กำหนดโดยกฎหมายนี้ อาจเรียกว่า ความหมายของครูตามรูปแบบ

สไลด์6

ผู้เขียนใช้ข้อความนี้ เพราะเป็น ความหมายที่ไม่แน่นอนตลอดไป อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ตามความเปลี่ยนแปลงของกฎหมาย ซึ่งขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการอีกทีหนึ่ง ถ้ากฎหมายกำหนดครูให้เป็นรูปแบบระดับใด ความหมายของครูก็จะเปลี่ยนไปตามรูปแบบระดับนั้น ๆ
ตัวอย่าง ความหมายของครูตามรูปแบบ จะเห็นได้จากกฎหมายบางฉบับ เช่น พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. ๒๕๒๓ กำหนดรูปแบบของครูโดยเรียกว่า ข้าราชการครูซึ่งมี ๓ กลุ่ม ได้แก่ ๑) กลุ่มที่มีหน้าที่เป็นผู้สอนในหน่วยงานทางการศึกษา ๒) กลุ่มที่มีหน้าที่เป็นผู้บริหารและให้การศึกษาใน หน่วยงานทางการศึกษา และ ๓) กลุ่มที่มี หน้าที่เกี่ยวกับการให้การศึกษาที่ไม่สังกัดโรงเรียน วิทยาลัย หรือสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่น ของกระทรวงศึกษาธิการ
เฉพาะกลุ่มที่ ๑ ซึ่งทำหน้าที่สอนเป็นหลัก ก็มีการแบ่งตำแหน่ง

สไลด์7
เป็นระดับ ๆ ไปจากล่างขึ้นไปสูง คือ
๑. ครู ๑
๒. ครู ๒
๓. อาจารย์ ๑
๔. อาจารย์ ๒
๕. อาจารย์ ๓
๖. ผู้ช่วยศาสตราจารย์
๗. รองศาสตราจารย์
๘. ศาสตราจารย์
และบางตำแหน่งก็กำหนดให้มีได้ เฉพาะในบางหน่วยงาน คือตำแหน่งที่ ๖-๗-๘ จะมีได้เฉพาะในหน่วยงานที่มีการสอนถึง ระดับปริญญาเท่านั้น

สไลด์8

ในสถาบันอุดมศึกษาบางสังกัด กล่าวคือ มหาวิทยาลัย ได้มีการกำหนดแบบของครูเป็นพิเศษต่างหากออกไปจน ไม่มีกลิ่นไอของครูเลยทีเดียว ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายคนละฉบับกัน
ความ หมายของครูตามรูปแบบอาจ มีส่วนกระทบในทางลบต่อความหมายของครูตามเนื้อแท้ก็ได้ และคำว่า ครูอาจจะค่อย ๆ เลือนหายไปจากความสนใจของสังคมโดย อาจถูกมองว่าไม่เหมาะกับยุคสมัย เช่น แทนที่ จะเรียกว่า ครูก็เรียกว่า อาจารย์หรือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์หรือคำอื่น ๆ (อาจมีขึ้นภายหลัง) ดูจะเท่หรือโก้กว่าหรือทันสมัยกว่า

สไลด์9
กฎหมายที่กำหนดขึ้นในระยะหลัง ๆ ดูจะพยายามลดความสำคัญของคำว่า ครูลง จะโดยจงใจหรือไม่ก็ตาม มองเฉพาะในแง่สถาบันผลิตครู เช่น วิทยาลัยครู ได้กลายมาเป็นสถาบันราชภัฏ มหาวิทยาลัยที่ผลิตครู แม้มีคณะที่รับผิดชอบเรื่องครู ก็พยายามที่กลายชื่อเป็นอย่างอื่น เช่นศึกษาศาสตร์ หรือบุคลากรทางการศึกษา
นาน ๆ ไป คำว่า ครูคงจะหมดไป และคนที่เป็นครู อาจจะเป็นใครก็ได้ที่สามารถทำหน้าที่สอนได้ จนที่สุดแม้แต่เครื่องเทคโนโลยีก็อาจเป็นครูได้ เพราะสามารถทำหน้าที่สอนให้เกิดความรู้ได้ ดังนั้น องค์ประกอบแห่งความเป็นครู ที่กล่าวข้างต้น คือ ความรู้ ความประพฤติ และคุณธรรม อาจเหลือเฉพาะองค์ประกอบเดียวคือ ความรู้เท่านั้นก็ได้ หลับตาดูก็แล้วกัน หากเป็นเช่นนั้นจริง สังคมในอนาคตจะวุ่นวายแค่ไหนสุดที่จะเดาได้

สไลด์ที่10
บทบาทของครู
ครู คือผู้นำทางวิญญาณ ทั้งแก่บุคคลและสังคม ใน ๓ ประการคือ
๑. สอนให้รู้จักความรอดที่แท้จริง คือการดับทุกข์
๒. สอนให้รู้จักความสุขที่แท้จริง คือความสุขจากการทำหน้าที่ หน้าที่นั้นแยกได้ ๒ ประการ ประการที่ ๑ คือ การบริหารชีวิตให้เป็นสุข ประการที่ ๒ คือ การใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์มากที่สุด ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น
๓. สอนให้รู้จักหน้าที่ที่แท้จริง คือรู้จักหน้าที่ในฐานะที่เป็นสิ่งสูงสุด รักที่จะทำหน้าที่และมีความสุขในการทำหน้าที่
๒. ครูเป็นผู้สร้างโลก
บุคคล ในโลกจะดีหรือเลว ก็เพราะการศึกษาและผู้ให้การศึกษา ก็คือครู ดังนั้น ครูจึงเป็นผู้สร้างโลกในอนาคต โดยผ่านศิษย์ โลกที่พึงประสงค์คือ โลกของคนดีอันเปรียบได้กับ
๑. มนุษยโลก คือ สร้างบุคคลที่มีจิตใจสูง
๒. พรหมโลก คือ สร้างบุคคลที่ประเสริฐรักเพื่อนมนุษย์ มีพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
๓. เทวโลก คือ สร้างบุคคลให้มีหิริ โอตตัปปะ
๓. หน้าที่ของครู
หน้าที่ ของครู คือสร้างความอยู่รอดของสังคม โดยการให้การศึกษาที่สมบูรณ์แก่ศิษย์ การศึกษาที่สมบูรณ์คือ การศึกษาที่ครบองค์สาม อันได้แก่
๑. ให้ความรู้ทางโลก หมายถึง การเรียนหนังสือ เพื่อพัฒนาสติปัญญาและการเรียนวิชาชีพ เพื่อให้สามารถอยู่รอดทางกาย
๒. ให้ความรู้ทางธรรม เพื่อให้ใจอยู่รอด คือรอดพ้นจากความครอบงำของกิเลส มีความเป็นมนุษย์ คือใจสูง ใจสว่าง และใจสงบ
๓. ให้รู้จักทำตนให้เป็นประโยชน์ ทั้งต่อตนเองและสังคม


บทที่2
สไลด์1
ครูที่แท้จริงนั้นต้องเป็นผู้ที่กระทำแต่ความดี คือ
ต้องหมั่นขยันอุตสาหะพากเพียร
ต้อง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และ เสียสละ
ต้องหนักแน่น อดทน อดกลั้น
ต้องรักษาวินัย สำรวม ระวังความประพฤติของตนให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม
ต้องปลีกตัวปลีกใจออกจากความสบาย และความ สนุกสนานร่าเริงที่ไม่ควรแก่เกียรติภูมิของตน
ต้องตั้งใจให้มั่นคงและแน่วแน่
ต้องรักษาความซื่อสัตย์ รักษาความจริงใจ
ต้องมีเมตตา และหวังดี
ต้องวางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ
ต้องมั่นอบรมปัญญาให้เพิ่มพูนสมบูรณ์ขึ้นทั้งในด้านวิทยาการ และความฉลาดรอบรู้ให้เหตุและผล

สไลด์2

คุณลักษณะที่ดีของครู หมายถึง เครื่องหมายหรือสิ่งที่ชี้ให้เห็นความดี หรือลักษณะที่ดีของครูและเป็นลักษณะที่ต้องการของสังคม
ลักษณะครู ที่ดี ควรมีความรักและความเมตตาต่อศิษย์ มีความเสียสละ หมั่นเพียรศึกษา ปรับปรุงวิธีการสอน เพื่อพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ต้องมีความ
เข้าใจและเอาใจใส่ตัวศิษย์ทุกคนเป็นกำลังใจและช่วยสร้างแรงบัลดาลใจให้กับศิษย์เพื่อให้เขาเป็นคนใฝ่เรียนรู้ เป็นแบบอย่างที่ดีมีจรรยาบรรณในวิชาชีพครู

มีจิตวิญญาณของความเป็นครู สามารถถ่ายทอดความรู้ได้เป็นอย่างดี
มีวิธีการสอนที่หลากหลาย มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความยุติธรรม ยอมรับฟังความคิดเห็น
ของผู้อื่น รวมถึงยอมรับและเข้าใจความแตกต่างของเด็กแต่ละคนด้วย
บทที่3
สไลด์1

ความเป็นมาของครู
จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึก ถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมากในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอ คณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริม ความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน

สไลด์2

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญที่นักศึกษาจะได้เรียนรู้และพัฒนาการเรียนการสอน และงานในหน้าที่ครูอย่างเข้มข้นและเป็นรูปธรรม เป็นโอกาสที่จะได้นำความรู้และทฤษฎี ไปประยุกต์ใช้ และสร้างองค์ความรู้ทางการศึกษา เพื่อสร้างสรรค์และแก้ปัญหาในกระบวนการทำงาน โดยมีครูพี่เลี้ยง อาจารย์นิเทศ และผู้บริหารสถานศึกษา เป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำ และความช่วยเหลือ

สไลด์3

จับกระแสการพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21: ข้อคิดและทิศทางเพื่อการพัฒนาครูไทย

โครงการจับกระแสความเคลื่อนไหวและนวัตกรรมในการจัดการศึกษาและพัฒนาเด็กและเยาวชน(INTREND)โดยสถาบันรามจิตติภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ได้จัดเสวนาครั้งที่ 5 เรื่องจับกระแสการพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21 : ข้อคิดและทิศทางเพื่อการพัฒนาครูไทย" กระแสการพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21 ได้กลายเป็นปรากฏการณ์สำคัญของการปฏิรูปการศึกษาทั่วโลก

สไลด์4

จากการประมวลวรรณกรรมแนวทางและนวัตกรรมการพัฒนาครูที่ดูจะถูกเน้นหนักมากในปัจจุบันน่าจะมีสาระสำคัญครอบคลุมแนวโน้มเชิงวิธีการ

5ประการคือ


สไลด์5

1) การสร้างระบบครูผู้เชี่ยวชาญเป็น Coach ประกบตัวฝึกปฏิบัติให้ครู เป็นการทำงานอย่างใกล้ชิดระหว่างครูผู้มีประสบการณ์กับเพื่อนครูในการแก้ปัญหาการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคล

การมีระบบพี่เลี้ยงและการให้คำปรึกษาหารือ (Coaching &
Mentoring
) จึงกลายเป็นกลไกและวิธีการสำคัญของการพัฒนาครูในปัจจุบัน


2) การผสมผสานกระบวนการวัดผลเข้ากับกระบวนการสอนอย่างแนบแน่น
ปรับให้ยืดหยุ่นหลากหลายใช้ได้ในหลายสถานการณ์ หลายเป้าหมายการวัด
โดยเฉพาะการวัดทักษะหรือคุณลักษณะใหม่ๆ ตามกรอบคิดร่วมสมัย

สไลด์6


3) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาครู
เพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาครูทางไกลผ่านรูปแบบ Web-Based Training ต่างๆ และเพื่อ จัดการความรู้ระหว่างครูด้วยกัน




4)การเปลี่ยนไปสู่โฉมหน้าใหม่โรงเรียนเรียนรู้
ครูนักวิจัยจากกรณีศึกษาประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศที่ต่างพยายามปรับรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนไปสู่การเป็น
องค์กรการเรียนรู้ที่เน้นให้ครู
เรียนรู้และพัฒนาตนเองจากประสบการณ์สะสมซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้น

สไลด์7


5)ยุทธศาสตร์การสร้างแรงบันดาลใจ จุดไฟพลังครู(Motivation
& Inspiration)
เน้นการค้นหาและหนุนเสริม
ครูผู้จุดไฟการเรียนรู้ครูในแบบดังกล่าวจะถูกเน้นการฝึกให้รู้จักตั้งคำถามดีๆ
เชื่อมโยงประเด็นสำคัญและตั้งโจทย์ชวนเด็กคิดได้มาก

แนวทางของการพัฒนาครูมักใช้ตัวอย่างจากครูผู้สร้างแรงบันดาลใจ

ด้วยกันมาแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดประสบการณ์หรือการเน้นให้ฝึกตั้งคำถามดลใจอันจะทำให้ผู้เรียนเกิดการใฝ่เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิตต่อไป


หน่วยที่ 9

การส่งเสริมและยกระดับวิชาชีพครู
การส่งเสริมและพัฒนาครู
ในสภาพความเป็นจริงที่ปรากฏในปัจจุบัน วิชาชีพครูกลับเป็นวิชาชีพที่คนทั่วไปดูหมิ่นดูแคลน เป็นวิชาชีพที่รายได้ต่ำ ผู้ประกอบวิชาชีพครูยากจน ผู้ปกครองที่มีการศึกษาสูงและมีฐานะดี ไม่ประสงค์จะให้บุตรหลานของตนศึกษาเพื่อออกไปประกอบวิชาชีพครู เยาวชนที่สำเร็จการศึกษาชั้น ม. 6 ก็ไม่ประสงค์ที่จะสมัครเรียนในสาขาวิชาชีพครู ผู้สมัครเรียนในสาขาครูจึงมักเป็นผู้ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ เมื่อไม่สามารถสอบเข้าเรียนในสาขาวิชาชีพอื่นได้แล้วจึงจะสมัครเรียนเพื่อออกไปเป็นครู
ปัญหาเกี่ยวกับวิชาชีพครูอาจสรุปได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ดังนี้
ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการผลิต เช่น ปัญหาอันเนื่องมาจากตัวป้อนเข้าของกระบวนการ ผลิตครู กระบวนการเรียนการสอนนักศึกษาครู การกำหนดคุณลักษณะของบัณฑิตครู และการควบคุมให้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษามีคุณลักษณะตามที่กำหนด เป็นต้น
ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการใช้ครู เช่น ปัญหาเกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุนด้าน งบประมาณ การบำรุงขวัญกำลังใจครูดี การติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมของชุมชนในการใช้ครู เป็นต้น
ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการเพื่อให้การผลิตและการใช้ครูเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล เช่น ปัญหาความด้อยประสิทธิภาพของผู้บริหาร การขาดระบบการตรวจสอบและประเมินผู้บริหารการไม่มีส่วนร่วมในการบริหารงานของท้องถิ่น การขาดแคลนทรัพยากรเพื่อการบริหาร รวมทั้งการขาดสถาบันพัฒนาผู้บริหารระดับมืออาชีพ เป็นต้น
1. ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการผลิต
สถาบันผลิตครูไม่สามารถผลิตครูให้มีคุณลักษณะตามที่สังคมต้องการได้ สาเหตุสำคัญที่ทำให้การผลิตครูมีประสิทธิผลต่ำอาจสรุปได้ 5 ประการดังนี้
1. คนเก่งไม่เรียนครู เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า คนเก่ง ส่วนใหญ่ไม่สนใจเป็นครู จากข้อมูลการเลือกเข้าเรียนต่อของผู้สมัครสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ปี การศึกษา 2539 ผู้สมัครส่วนใหญ่จะเลือกคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์เป็นอันดับสุดท้าย มีเพียงร้อยละ 19 ที่เลือกคณะครุศาสตร์เป็นอันดับ 1 และนักศึกษาครู มีผลการเรียนในระดับปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ จากข้อมูลเกรดเฉลี่ยในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของนักศึกษาครูในสถาบันราชภัฏ(ซึ่งเป็นสถาบันผลิตครูแหล่งใหญ่) พบว่า มีเกรดเฉลี่ย ประมาณ 2.3 (สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ, 2540) นอกจากนี้ นักศึกษาครูมักไม่เลือกเรียนวิชาเอกที่เป็นสาขาขาดแคลน เช่น สาขาทางด้านวิทยาศาสตร์ เพราะต้องใช้ความพยายามในการเรียนสูงกว่าสาขาวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ (สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ, 2540)
2. รัฐลงทุนเพื่อการผลิตครูต่ำ เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยในการผลิตบัณฑิตสาขาต่าง ๆ มีหลักฐานชัดเจนว่า รัฐลงทุนเพื่อการผลิตครูต่ำกว่าวิชาชีพอื่น ๆ มาก (สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ, 2540) สถาบันผลิตครูส่วนใหญ่ จึงมีปัญหาความขาดแคลนปัจจัยที่จำเป็นต่อการผลิตครู ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ขาดงบดำเนินการเพื่อพัฒนาคณาจารย์ และพัฒนาการเรียนการสอน นอกจากนี้ การผลิตครูดำเนินการโดยสถาบันของรัฐทั้งหมด ถึงแม้กฎหมายเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาผลิตครูได้ แต่ยังไม่มีเอกชนรายใดดำเนินการเพราะไม่คุ้มทุน
3. กระบวนการเรียนการสอนเน้นทฤษฏีมากกว่าเน้นการปฏิบัติจริง ถ้าพิจารณาจากหลักสูตรการผลิตครูจะพบว่าหลักสูตรที่ใช้ในปัจจุบันเป็นหลักสูตรที่กำหนดจากส่วนกลางและผูกติดกับแนวคิดสากลมากกว่าท้องถิ่น เน้นทฤษฎีมากกว่าการปฏิบัติจริง เน้นองค์ความรู้มากกว่าวิธีแสวงหาความรู้ วิชาที่สอนเป็นแบบแยกส่วน ขาดความเชื่อมโยงและบูรณาการ มีผลให้ผู้เรียนไม่ได้พัฒนาทักษะและวิธีการมองปัญหาในเชิงองค์รวม กระบวนการเรียนการสอนเพื่อผลิตครูยังเน้นครูเป็นศูนย์กลาง เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้มากกว่าการส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ รักที่จะเรียนรู้ อาจารย์ผู้สอนเป็นผู้กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนและการวัดผลฝ่ายเดียว ผู้เรียนไม่มีส่วนร่วม และ ที่สำคัญการจัดการเรียนการสอนขาดการประสานสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของท้องถิ่นและชุมชน ทำให้นักศึกษาครูไม่สามารถเรียนรู้ และพัฒนาวิชาชีพครูให้เหมาะสมกลมกลืนกับวิถีชีวิตของสภาพแวดล้อม ได้อย่างแท้จริง นอกจากนี้ สื่อ นวัตกรรม และแหล่งการเรียนรู้ในสถาบันผลิตครูไม่เอื้อให้นักศึกษาครู แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเอง การวัดผลและประเมินผลเน้นการสอบวัดเนื้อหาวิชาการมากกว่าการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ชี้นำแนวความคิดและคุณลักษณะที่เหมาะสมกับการเป็นครูในอนาคต และที่สำคัญ หลักสูตรการผลิตครูไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อรองรับการผลิตครูรุ่นใหม่ซึ่งต้องมีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความพร้อมทั้งความรู้ในเนื้อหาวิชาการ ความสามารถในการชี้นำความรู้ มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ และมีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งสามารถปรับใช้เทคโนโลยีในวิชาชีพได้







แนวทางการส่งเสริมและยกระดับวิชาชีพครู
แต่ละคนเป็นครูมานานแล้ว  แต่ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  แจ้งให้คุณครูทุกท่านทราบว่า  ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 – 2555  ได้กำหนดให้ดำเนินการพัฒนาผู้บริหาร  ครูและบุคลากรทางการศึกษา  ตามโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง  โดยมีขั้นตอนและแนวทางในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา  ดังนี้
          1.  การพัฒนาครูและบุคลาการทางการศึกษา  ตามโครงการยกระดับคุณภาพทั้งระบบ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 – 2555 ประกอบด้วยกิจกรรม  4  กิจกรรม คือ
                   1.1  การจัดระบบพัฒนาสมรรถนะครูรายบุคคล
                   1.2  พัฒนาครูดี  ครูเก่ง  เพื่อเป็น  Master Teacher  หรือ ครูแกนนำ
                   1.3  ยกระดับคุณภาพครู  รวมทั้งผู้บริหารการศึกษา  ผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาทุกคน
                   1.4  พัฒนาครูด้วยระบบ E-training
          2.  ขั้นตอนแรกในการพัฒนา  ครู  ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนจะได้รับการประเมินสมรรถนะ  มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดระบบพัฒนาสมรรถนะรายบุคคลและดำเนินการพัฒนาให้เหมาะสมกับความรู้  ความสามารถและศักยภาพของแต่ละคนเพื่อพัฒนาให้สอดคล้องกับหลักสูตร  โดยผลของการประเมินสมรรถนะ  มิได้มีผลเสียต่อการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง  การเลื่อนวิทยฐานะ  การพิจารณาความดีความชอบ  รวมทั้งมิได้มีผลเสียต่อสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้รับแต่อย่างใด
          3.  ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีผลการประเมินในระดับสูง  จะได้รับการพัฒนาโดยหลักสูตรที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  และสถาบันอุดมศึกษา  กำหนดเพื่อให้เป็นแกนนำให้กับครู  ตามกลุ่มสาระ  และช่วงชั้น  ในเขตพื้นที่การศึกษาที่สังกัด
          4.  ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีผลการประเมินในระดับปานกลางและระดับต้น  จะได้รับการพัฒนาตามหลักสูตรเพื่อยกระดับคุณภาพให้เป็นครูดี  ครูเก่ง  มีคุณภาพ   โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร่วมมือกับกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพแต่ละระดับ  ศูนย์พัฒนาตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ และครูแกนนำ(Master Teacher  )  โดยมีสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  และสถาบันอุดมศึกษาให้การสนับสนุนด้านวิชาการ
          5.  หลักสูตรในการประเมินสมรรถนะและการพัฒนา ประกอบด้วย 3 โมดุล
                   โมดุลที่ 1  ความรู้ตามเนื้อหาที่สอนรายกลุ่มสาระ
                   โมดุลที่ 2  สมรรถนะหลัก  ประกอบด้วย  การมุ่งผลสัมฤทธิ์ 
                                การบริการที่ดี  การพัฒนาตนเอง  และการทำงานเป็นทีม
                   โมดุลที่ 3  สมรรถนะประจำสายงาน  ประกอบด้วย  เทคนิคการสอน 
                                การออกแบบการเรียนรู้  ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 
                                การพัฒนาผู้เรียน  ห้องเรียนคุณภาพ  5  ด้าน
                                การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์
          ในระดับประถมศึกษา  เน้นในเรื่องของทักษะการอ่านคล่อง  เขียนคล่องและทักษะการคิดวิเคราะห์  จึงให้ครูในระดับประถมศึกษาเลือกประเมินและพัฒนาในสาระวิชาภาษาไทยและบูรณาการ  หรือคณิตศาสตร์และบูรณาการ
            ส่วนในระดับปฐมวัย  มัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนขยายโอกาส  และมัธยมศึกษาตอนปลาย  เลือกประเมินและพัฒนาตามกลุ่มสาระที่สอน 
          สำหรับวิธีการพัฒนาจะเป็นการพัฒนาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  จะจัดระบบให้มีการสร้างความเข้าใจในเบื้องต้นและดำเนินการพัฒนาควบคู่กับการเรียนการสอนในโรงเรียน  จะไม่ทำให้เกิดปัญหานำครูออกนอกห้องเรียนเพื่อไปพัฒนายังหน่วยงานภายนอก
            6.  ในการประเมินสมรรถนะและพัฒนา  ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กำลังดำเนินงานประสานกับสถาบันอุดมศึกษาและเครือข่ายที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการจัดทำแบบประเมินและหลักสูตรที่เหมาะสมกับการยกระดับคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา  คาดว่าจะเริ่มดำเนินการประเมินสมรรถนะได้ในช่วงปลายพฤศจิกายน  2552  เป็นต้นไป  ส่วนการพัฒนาคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในเดือนธันวาคม  2552  และปิดภาคเรียนที่ ปีการศึกษา 2552 (มีนาคม – พฤษภาคม 2553)

ข้อมูลจากสพท.ชพ.1
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/315981


เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู
มาตรฐานวิชาชีพครู
แนวทางการดำเนินงานที่กล่าวมาแล้วโดยเฉพาะ การควบคุม และรักษามาตรฐานการประกอบวิชาชีพ เป็นเรื่องที่เพิ่มจะกำหนดให้มีการดำเนินงานครั้งแรกในวิชาชีพครู โดยกำหนดให้มีการกำหนดมาตรฐาน
วิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพ
มาตรฐานวิชาชีพครู เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับ คุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการประกอบวิชาชีพครู โดยผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องนำมาตรฐานวิชาชีพเป็นหลักเกณฑ์ในประกอบ
วิชาชีพคุรุสภาซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพครู ตาม พ.ร.บ. ครู พ.ศ. 2488 ได้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพครู ไว้ 3 ด้าน กล่าวคือ
1.
มาตรฐาน ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
2.
มาตรฐาน ด้านการปฏิบัติงาน
3.
มาตรฐาน ด้านการปฏิบัติตน

มาตรฐานด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ กำหนดไว้ ดังนี้
1)
วุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาที่สภาวิชาชีพรับรอง หรือ
2)
วุฒิปริญญาตรีทางวิชาการหรือวิชาชีพอื่น และได้ศึกษาวิชาการศึกษาหรือฝึกอบรม วิชาชีพทาง การศึกษา มาไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
3)
ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่สภาวิชาชีพรับรอง และผ่านการประเมินกาปฏิบัติการสอนตามเกณฑ์ที่สภาวิชาชีพกำหนด

มาตรฐานด้านการปฏิบัติงาน ได้แก่เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู ที่สภาวิชาชีพ (คุรุสภา) กำหนด ประกอบด้วย 12 เกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้
มาตรฐานที่ 1 ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
มาตรฐานที่ 2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน
มาตรฐานที่ 3 มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
มาตรฐานที่ 4 พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติให้เกิดผลจริง
มาตรฐานที่ 5 พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
มาตรฐานที่ 6 จัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
มาตรฐานที่ 7 รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
มาตรฐานที่ 8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
มาตรฐานที่ 9 ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
มาตรฐานที่ 10 ร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในชุมชน
มาตรฐานที่ 11 แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
มาตรฐานที่ 12 สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ทุกสถานการณ์

มาตรฐานด้านการปฏิบัติตน ได้แก่ตามจรรยาบรรณครู ที่สภาวิชาชีพ (คุรุสภา) กำหนด ซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้ ดังนี้
1)
ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริมกำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
2)
ครูต้องอบรมสั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะ และนิสัยที่ครูต้องดีงามให้เกิดแก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
3)
ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ ทั้งกาย วาจา และจิตใจ
4)
ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์
5)
ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติและไม่ใช้ศิษย์กระทำการใด ๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ
6)
ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
7)
ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู
8)
ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครู และชุมชนในทางสร้างสรรค์
9)
ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย

มาตรฐานวิชาชีพครู จะเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะมีสิทธิ ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ โดยผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรฐานวิชาชีพครู ดังกล่าวข้างต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น