ครู อาจารย์ มีความหมายที่คล้ายคลึงกันอย่างไร
ในช่วงต้นปีการศึกษา ทุกสถานศึกษาจะมีพิธีสําคัญที่ไม่ว่าจะอยู่ในระดับชั้นใดจะต้องจัดให้มีขึ้น
คือ พิธีไหว้ครู เพื่อ
รําลึกถึงพระคุณของครูบาอาจารย์
น่าแปลกที่แม้ว่าบางสถานศึกษาจะมีแต่อาจารย์ แต่ในการจัดพิธีก็ยังคงเรียกว่า “พิธีไหว้
ครู” พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
ให้ความหมายคําว่า ครู หมายถึง ผู้สั่งสอนศิษย์, ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่
ศิษย์. ส่วนคําว่า อาจารย์ หมายถึง ผู้สั่งสอนวิชาความรู้; คําที่ใช้เรียกนําหน้าชื่อบุคคลเพื่อแสดงความยกย่องว่ามีความรู้ในทาง ใดทางหนึ่ง.
นอกจากนี้ในหนังสือจริยศาสตร์และจริยธรรมเพื่อพัฒนาชีวิตและสังคม
ของศาสตราจารย์พิเศษจํานงค์ ทองประเสริฐ
ราชบัณฑิต ได้ให้ความหมายที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของคําว่า ครู
กับอาจารย์ ไว้โดยสรุปว่า
คําว่า ครู ตามศัพท์แปลว่า ผู้หนัก หมายถึง
ผู้ที่ต้องมีภาระหนักในการที่จะอบรมสั่งสอนศิษย์และในการถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์
ส่วนคําว่า อาจารย์ แปลว่า
ผู้ที่ศิษย์จะต้องประพฤติตอบด้วยความเอื้อเฟื้อ คือความเคารพนบนอบ ในทาง
พระพุทธศาสนาถือกันว่า ครูเป็นทิศเบื้องขวา
เพราะเป็นบุคคลที่สําคัญยิ่งในอันที่จะสร้างบุคคลในสังคมให้เป็นผู้มีความรู้ มี
คุณธรรม อันจะเป็นกําลังทางสังคมของประเทศชาติต่อไป
ดังนั้น คําว่า “ครู” จึงมีความหมายที่ลึกซึ้งกว่าคําว่า
“อาจารย์” มาก
เพราะแสดงถึงความสัมพันธ์อันแนบแน่นที่ครูมีต่อ “ศิษย์” ด้วยครูจะต้องเอาใจใส่ในการให้ความรู้และอบรมสั่งสอนศิษย์ทั้งในห้องเรียน
ในโรงเรียน และแม้แต่ศิษย์ซึ่งได้ร่ําเรียนจบไปแล้ว ครูก็ยังมีความผูกพันทางด้านจิตใจกับศิษย์
ยังมีความเป็นห่วงความกังวลในอนาคตของศิษย์
เป็นผู้ที่คอยปลุกปลอบและให้กําลังใจแก่ศิษย์เสมอ.
กนกวรรณ ทองตะโก (http://www.royin.go.th/
ครูกับความเป็นครู
ครู
ซึ่งมาจากคำว่า คุรุ แปลว่า หนัก ฉะนั้นแล้ว ครู จึงเป็นผู้หนัก
หนักในเรื่องใดบ้าง เช่น
หนักในการที่จะสั่งสอนศิษย์ให้เป็นบุคคลที่มีความรู้ หนักในการที่จะสอนคนหลาย ๆ คนให้เป็นคนที่ดี
เป็นบุคคลที่สังคมมีความต้องการ
และการที่เราจะสามารถสอนคนเหล่านั้นได้เราจะต้องรู้เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคล
เหล่านั้นดีพอสมควร เราจึงจะสามารถสอนเขาได้ ซึ่งเข้ากับสุภาษิตจีนที่ว่า “รู้เขารู้เรา
รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” การสอนคนก็เช่นเดียวกัน
การสอนก็เปรียบเสมือนกับการรบที่จะต้องมีการใช้ แรงกาย แรงใจ
และกำลังสมองในการที่จะมาคิดกาวิธีทางที่จะเอาชนะข้าศึก ซึ่งก็เปรียบได้กับ
ความไม่รู้หรือความเขลาในตัวศิษย์ และการเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติ เรื่องราว
หรือพื้นเพของคนที่เราเรียกว่าศิษย์นั้นก็เป็นอีกกลยุทธหนึ่งที่จะเอาชนะ ความเขลา
หรือข้าศึกในการรบได้
ความ หมายของครู กล่าวคือ ผู้ที่เป็นครูควรมีภาวะดังกล่าวอันได้แก่
ความรู้ ความประพฤติและคุณธรรม ไม่ว่าครูนั้นจะอยู่ ณ ที่ใด หน่วยงานไหน
หรือซีกใดของโลก
อย่าง ไรก็ตาม ยังมีความหมายของครู
อีกอย่างหนึ่งที่กำหนดโดยกฎหมายให้เป็น รูปแบบ แบ่งเป็นชั้นหรือระดับ
สูงต่ำแตกต่างกัน และอาจเกิดสิ่งที่เรียกว่าเกียรติหรือศักดิ์ศรี
แทรกซ้อนอยู่ในรูปแบบนั้นด้วย ซึ่งบางที
อาจปิดกั้นไม่ให้มองเห็นความหมายตามเนื้อแท้ ก็ได้ ความหมายของครูที่กำหนดโดยกฎหมายนี้
อาจเรียกว่า “ความหมายของครูตามรูปแบบ”
ที่ ผู้เขียนใช้ข้อความนี้
เพราะเป็น ความหมายที่ไม่แน่นอนตลอดไป อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้
ตามความเปลี่ยนแปลงของกฎหมาย ซึ่งขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการอีกทีหนึ่ง
ถ้ากฎหมายกำหนดครูให้เป็นรูปแบบระดับใด
ความหมายของครูก็จะเปลี่ยนไปตามรูปแบบระดับนั้น ๆ
ตัวอย่าง ความหมายของครูตามรูปแบบ
จะเห็นได้จากกฎหมายบางฉบับ เช่น พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. ๒๕๒๓
กำหนดรูปแบบของครูโดยเรียกว่า “ข้าราชการครู” ซึ่งมี ๓ กลุ่ม ได้แก่ ๑)
กลุ่มที่มีหน้าที่เป็นผู้สอนในหน่วยงานทางการศึกษา ๒)
กลุ่มที่มีหน้าที่เป็นผู้บริหารและให้การศึกษาใน หน่วยงานทางการศึกษา และ ๓)
กลุ่มที่มี หน้าที่เกี่ยวกับการให้การศึกษาที่ไม่สังกัดโรงเรียน วิทยาลัย
หรือสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่น ของกระทรวงศึกษาธิการ
เฉพาะกลุ่มที่ ๑
ซึ่งทำหน้าที่สอนเป็นหลัก ก็มีการแบ่งตำแหน่งเป็นระดับ ๆ ไปจากล่างขึ้นไปสูง คือ
๑. ครู ๑
๒. ครู ๒
๓. อาจารย์ ๑
๔. อาจารย์ ๒
๕. อาจารย์ ๓
๖. ผู้ช่วยศาสตราจารย์
๗. รองศาสตราจารย์
๘. ศาสตราจารย์
และบางตำแหน่งก็กำหนดให้มีได้
เฉพาะในบางหน่วยงาน คือตำแหน่งที่ ๖-๗-๘ จะมีได้เฉพาะในหน่วยงานที่มีการสอนถึง
ระดับปริญญาเท่านั้น
ยิ่ง กว่านั้น
ในสถาบันอุดมศึกษาบางสังกัด กล่าวคือ มหาวิทยาลัย ได้มีการกำหนดแบบของครูเป็นพิเศษต่างหากออกไปจน
ไม่มีกลิ่นไอของครูเลยทีเดียว ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายคนละฉบับกัน
ความ หมายของครูตามรูปแบบอาจ
มีส่วนกระทบในทางลบต่อความหมายของครูตามเนื้อแท้ก็ได้ และคำว่า “ครู” อาจจะค่อย ๆ
เลือนหายไปจากความสนใจของสังคมโดย อาจถูกมองว่าไม่เหมาะกับยุคสมัย เช่น แทนที่
จะเรียกว่า “ครู” ก็เรียกว่า “อาจารย์” หรือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์” หรือคำอื่น ๆ (อาจมีขึ้นภายหลัง)
ดูจะเท่หรือโก้กว่าหรือทันสมัยกว่า
ที่ กล่าวเช่นนี้
คงไม่เกินความจริง เพราะกฎหมายที่กำหนดขึ้นในระยะหลัง ๆ
ดูจะพยายามลดความสำคัญของคำว่า “ครู” ลง จะโดยจงใจหรือไม่ก็ตาม
มองเฉพาะในแง่สถาบันผลิตครู เช่น วิทยาลัยครู ได้กลายมาเป็นสถาบันราชภัฏ
มหาวิทยาลัยที่ผลิตครู แม้มีคณะที่รับผิดชอบเรื่องครู
ก็พยายามที่กลายชื่อเป็นอย่างอื่น เช่นศึกษาศาสตร์ หรือบุคลากรทางการศึกษา
นาน ๆ ไป คำว่า “ครู” คงจะหมดไป และคนที่เป็นครู
อาจจะเป็นใครก็ได้ที่สามารถทำหน้าที่สอนได้
จนที่สุดแม้แต่เครื่องเทคโนโลยีก็อาจเป็นครูได้
เพราะสามารถทำหน้าที่สอนให้เกิดความรู้ได้ ดังนั้น องค์ประกอบแห่งความเป็นครู
ที่กล่าวข้างต้น คือ ความรู้ ความประพฤติ และคุณธรรม อาจเหลือเฉพาะองค์ประกอบเดียวคือ
ความรู้เท่านั้นก็ได้ หลับตาดูก็แล้วกัน หากเป็นเช่นนั้นจริง
สังคมในอนาคตจะวุ่นวายแค่ไหนสุดที่จะเดาได้
บทบาทและหน้าที่ของครู ตามทัศนะของพุทธทาสภิกขุ
พุทธทาสภิกขุ (๒๕๒๙ : ๒๔๒-๒๕๓)
ได้กล่าวถึงบทบาทของครูไว้ว่
๑. บทบาทของครู
ครู คือผู้นำทางวิญญาณ
ทั้งแก่บุคคลและสังคม ใน ๓ ประการคือ
๑. สอนให้รู้จักความรอดที่แท้จริง
คือการดับทุกข์
๒. สอนให้รู้จักความสุขที่แท้จริง
คือความสุขจากการทำหน้าที่ หน้าที่นั้นแยกได้ ๒ ประการ ประการที่ ๑ คือ
การบริหารชีวิตให้เป็นสุข ประการที่ ๒ คือ การใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์มากที่สุด
ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น
๓. สอนให้รู้จักหน้าที่ที่แท้จริง
คือรู้จักหน้าที่ในฐานะที่เป็นสิ่งสูงสุด
รักที่จะทำหน้าที่และมีความสุขในการทำหน้าที่
๒. ครูเป็นผู้สร้างโลก
บุคคล ในโลกจะดีหรือเลว
ก็เพราะการศึกษาและผู้ให้การศึกษา ก็คือครู ดังนั้น ครูจึงเป็นผู้สร้างโลกในอนาคต
โดยผ่านศิษย์ โลกที่พึงประสงค์คือ โลกของคนดีอันเปรียบได้กับ
๑. มนุษยโลก คือ
สร้างบุคคลที่มีจิตใจสูง
๒. พรหมโลก คือ สร้างบุคคลที่ประเสริฐรักเพื่อนมนุษย์
มีพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
๓. เทวโลก คือ สร้างบุคคลให้มีหิริ
โอตตัปปะ
๓. หน้าที่ของครู
หน้าที่ ของครู
คือสร้างความอยู่รอดของสังคม โดยการให้การศึกษาที่สมบูรณ์แก่ศิษย์
การศึกษาที่สมบูรณ์คือ การศึกษาที่ครบองค์สาม อันได้แก่
๑. ให้ความรู้ทางโลก หมายถึง
การเรียนหนังสือ เพื่อพัฒนาสติปัญญาและการเรียนวิชาชีพ
เพื่อให้สามารถอยู่รอดทางกาย
๒. ให้ความรู้ทางธรรม
เพื่อให้ใจอยู่รอด คือรอดพ้นจากความครอบงำของกิเลส มีความเป็นมนุษย์ คือใจสูง ใจสว่าง
และใจสงบ
๓. ให้รู้จักทำตนให้เป็นประโยชน์
ทั้งต่อตนเองและสังคม
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบ