เกริ่นนำ

........สวัสดี ทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม บทความนี้เนื่องจากผมได้ทำบล็อคนี้เพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอน วิชาชีพครู ในภาคเรียนที่1//2558 เป็นสื่อการเรียนที่ทันสมัยที่ใช่ในห้องเรียนและเว็บบล็อคมีความสะดวกสบายทำให้ได้ข้อมูลและความรู้ทั้งข้อมูลและรูปภาพที่เกี่ยวข้องกับความเป็นครูช่วยให้ผู้เรียนสะดวกสบายมีอิสระในการศึกษาอย่างค้นคว้า ยิ่งไปกว่านี้เรายังนำข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าอย่ากว้างไกลมาตรวจสอบและเรีนรู้อย่างลึกซึ่งในห้องเรียนปกติ ผมหวังว่าเว็บบล็อคนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกคนไม่มากก็น้อย

welcome

ส่งงานPower point -3บท

บทที่1
สไลด์1
ครูพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายคําว่า ครู หมายถึง ผู้สั่งสอนศิษย์, ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่
ศิษย์. ส่วนคําว่า อาจารย์ หมายถึง ผู้สั่งสอนวิชาความรู้; คําที่ใช้เรียกนําหน้าชื่อบุคคลเพื่อแสดงความยกย่องว่ามีความรู้ในทาง ใดทางหนึ่ง.
นอกจากนี้ในหนังสือจริยศาสตร์และจริยธรรมเพื่อพัฒนาชีวิตและสังคม ของศาสตราจารย์พิเศษจํานงค์ ทองประเสริฐ
สไลด์2
ราชบัณฑิต ได้ให้ความหมายที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของคําว่า ครู กับอาจารย์ ไว้โดยสรุปว่า
คําว่า ครู ตามศัพท์แปลว่า ผู้หนัก หมายถึง ผู้ที่ต้องมีภาระหนักในการที่จะอบรมสั่งสอนศิษย์และในการถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์
ส่วนคําว่า อาจารย์ แปลว่า ผู้ที่ศิษย์จะต้องประพฤติตอบด้วยความเอื้อเฟื้อ คือความเคารพนบนอบ ในทาง
พระพุทธศาสนาถือกันว่า ครูเป็นทิศเบื้องขวา เพราะเป็นบุคคลที่สําคัญยิ่งในอันที่จะสร้างบุคคลในสังคมให้เป็นผู้มีความรู้ มี
คุณธรรม อันจะเป็นกําลังทางสังคมของประเทศชาติต่อไป
สไลด์ 3
ดังนั้น คําว่า ครูจึงมีความหมายที่ลึกซึ้งกว่าคําว่า อาจารย์มาก
เพราะแสดงถึงความสัมพันธ์อันแนบแน่นที่ครูมีต่อ ศิษย์ด้วยครูจะต้องเอาใจใส่ในการให้ความรู้และอบรมสั่งสอนศิษย์ทั้งในห้องเรียน
ในโรงเรียน และแม้แต่ศิษย์ซึ่งได้ร่ําเรียนจบไปแล้ว ครูก็ยังมีความผูกพันทางด้านจิตใจกับศิษย์
ยังมีความเป็นห่วงความกังวลในอนาคตของศิษย์ เป็นผู้ที่คอยปลุกปลอบและให้กําลังใจแก่ศิษย์เสมอ
สไลด์4
ครู ซึ่งมาจากคำว่า คุรุ แปลว่า หนัก ฉะนั้นแล้ว ครู จึงเป็นผู้หนัก หนักในเรื่องใดบ้าง เช่น หนักในการที่จะสั่งสอนศิษย์ให้เป็นบุคคลที่มีความรู้ หนักในการที่จะสอนคนหลาย ๆ คนให้เป็นคนที่ดี เป็นบุคคลที่สังคมมีความต้องการ และการที่เราจะสามารถสอนคนเหล่านั้นได้เราจะต้องรู้เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคล เหล่านั้นดีพอสมควร เราจึงจะสามารถสอนเขาได้ ซึ่งเข้ากับสุภาษิตจีนที่ว่า รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้งการสอนคนก็เช่นเดียวกัน การสอนก็เปรียบเสมือนกับการรบที่จะต้องมีการใช้ แรงกาย แรงใจ และกำลังสมองในการที่จะมาคิดกาวิธีทางที่จะเอาชนะข้าศึก ซึ่งก็เปรียบได้กับ ความไม่รู้หรือความเขลาในตัวศิษย์ และการเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติ เรื่องราว หรือพื้นเพของคนที่เราเรียกว่าศิษย์นั้นก็เป็นอีกกลยุทธหนึ่งที่จะเอาชนะ ความเขลา หรือข้าศึกในการรบได้

สไลด์5
ความ หมายของครู กล่าวคือ ผู้ที่เป็นครูควรมีภาวะดังกล่าวอันได้แก่ ความรู้ ความประพฤติและคุณธรรม ไม่ว่าครูนั้นจะอยู่ ณ ที่ใด หน่วยงานไหน หรือซีกใดของโลก
อย่าง ไรก็ตาม ยังมีความหมายของครู อีกอย่างหนึ่งที่กำหนดโดยกฎหมายให้เป็น รูปแบบ แบ่งเป็นชั้นหรือระดับ สูงต่ำแตกต่างกัน และอาจเกิดสิ่งที่เรียกว่าเกียรติหรือศักดิ์ศรี แทรกซ้อนอยู่ในรูปแบบนั้นด้วย ซึ่งบางที อาจปิดกั้นไม่ให้มองเห็นความหมายตามเนื้อแท้ ก็ได้ ความหมายของครูที่กำหนดโดยกฎหมายนี้ อาจเรียกว่า ความหมายของครูตามรูปแบบ

สไลด์6

ผู้เขียนใช้ข้อความนี้ เพราะเป็น ความหมายที่ไม่แน่นอนตลอดไป อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ตามความเปลี่ยนแปลงของกฎหมาย ซึ่งขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการอีกทีหนึ่ง ถ้ากฎหมายกำหนดครูให้เป็นรูปแบบระดับใด ความหมายของครูก็จะเปลี่ยนไปตามรูปแบบระดับนั้น ๆ
ตัวอย่าง ความหมายของครูตามรูปแบบ จะเห็นได้จากกฎหมายบางฉบับ เช่น พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. ๒๕๒๓ กำหนดรูปแบบของครูโดยเรียกว่า ข้าราชการครูซึ่งมี ๓ กลุ่ม ได้แก่ ๑) กลุ่มที่มีหน้าที่เป็นผู้สอนในหน่วยงานทางการศึกษา ๒) กลุ่มที่มีหน้าที่เป็นผู้บริหารและให้การศึกษาใน หน่วยงานทางการศึกษา และ ๓) กลุ่มที่มี หน้าที่เกี่ยวกับการให้การศึกษาที่ไม่สังกัดโรงเรียน วิทยาลัย หรือสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่น ของกระทรวงศึกษาธิการ
เฉพาะกลุ่มที่ ๑ ซึ่งทำหน้าที่สอนเป็นหลัก ก็มีการแบ่งตำแหน่ง

สไลด์7
เป็นระดับ ๆ ไปจากล่างขึ้นไปสูง คือ
๑. ครู ๑
๒. ครู ๒
๓. อาจารย์ ๑
๔. อาจารย์ ๒
๕. อาจารย์ ๓
๖. ผู้ช่วยศาสตราจารย์
๗. รองศาสตราจารย์
๘. ศาสตราจารย์
และบางตำแหน่งก็กำหนดให้มีได้ เฉพาะในบางหน่วยงาน คือตำแหน่งที่ ๖-๗-๘ จะมีได้เฉพาะในหน่วยงานที่มีการสอนถึง ระดับปริญญาเท่านั้น

สไลด์8

ในสถาบันอุดมศึกษาบางสังกัด กล่าวคือ มหาวิทยาลัย ได้มีการกำหนดแบบของครูเป็นพิเศษต่างหากออกไปจน ไม่มีกลิ่นไอของครูเลยทีเดียว ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายคนละฉบับกัน
ความ หมายของครูตามรูปแบบอาจ มีส่วนกระทบในทางลบต่อความหมายของครูตามเนื้อแท้ก็ได้ และคำว่า ครูอาจจะค่อย ๆ เลือนหายไปจากความสนใจของสังคมโดย อาจถูกมองว่าไม่เหมาะกับยุคสมัย เช่น แทนที่ จะเรียกว่า ครูก็เรียกว่า อาจารย์หรือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์หรือคำอื่น ๆ (อาจมีขึ้นภายหลัง) ดูจะเท่หรือโก้กว่าหรือทันสมัยกว่า

สไลด์9
กฎหมายที่กำหนดขึ้นในระยะหลัง ๆ ดูจะพยายามลดความสำคัญของคำว่า ครูลง จะโดยจงใจหรือไม่ก็ตาม มองเฉพาะในแง่สถาบันผลิตครู เช่น วิทยาลัยครู ได้กลายมาเป็นสถาบันราชภัฏ มหาวิทยาลัยที่ผลิตครู แม้มีคณะที่รับผิดชอบเรื่องครู ก็พยายามที่กลายชื่อเป็นอย่างอื่น เช่นศึกษาศาสตร์ หรือบุคลากรทางการศึกษา
นาน ๆ ไป คำว่า ครูคงจะหมดไป และคนที่เป็นครู อาจจะเป็นใครก็ได้ที่สามารถทำหน้าที่สอนได้ จนที่สุดแม้แต่เครื่องเทคโนโลยีก็อาจเป็นครูได้ เพราะสามารถทำหน้าที่สอนให้เกิดความรู้ได้ ดังนั้น องค์ประกอบแห่งความเป็นครู ที่กล่าวข้างต้น คือ ความรู้ ความประพฤติ และคุณธรรม อาจเหลือเฉพาะองค์ประกอบเดียวคือ ความรู้เท่านั้นก็ได้ หลับตาดูก็แล้วกัน หากเป็นเช่นนั้นจริง สังคมในอนาคตจะวุ่นวายแค่ไหนสุดที่จะเดาได้

สไลด์ที่10
บทบาทของครู
ครู คือผู้นำทางวิญญาณ ทั้งแก่บุคคลและสังคม ใน ๓ ประการคือ
๑. สอนให้รู้จักความรอดที่แท้จริง คือการดับทุกข์
๒. สอนให้รู้จักความสุขที่แท้จริง คือความสุขจากการทำหน้าที่ หน้าที่นั้นแยกได้ ๒ ประการ ประการที่ ๑ คือ การบริหารชีวิตให้เป็นสุข ประการที่ ๒ คือ การใช้ชีวิตให้เป็นประโยชน์มากที่สุด ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น
๓. สอนให้รู้จักหน้าที่ที่แท้จริง คือรู้จักหน้าที่ในฐานะที่เป็นสิ่งสูงสุด รักที่จะทำหน้าที่และมีความสุขในการทำหน้าที่
๒. ครูเป็นผู้สร้างโลก
บุคคล ในโลกจะดีหรือเลว ก็เพราะการศึกษาและผู้ให้การศึกษา ก็คือครู ดังนั้น ครูจึงเป็นผู้สร้างโลกในอนาคต โดยผ่านศิษย์ โลกที่พึงประสงค์คือ โลกของคนดีอันเปรียบได้กับ
๑. มนุษยโลก คือ สร้างบุคคลที่มีจิตใจสูง
๒. พรหมโลก คือ สร้างบุคคลที่ประเสริฐรักเพื่อนมนุษย์ มีพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
๓. เทวโลก คือ สร้างบุคคลให้มีหิริ โอตตัปปะ
๓. หน้าที่ของครู
หน้าที่ ของครู คือสร้างความอยู่รอดของสังคม โดยการให้การศึกษาที่สมบูรณ์แก่ศิษย์ การศึกษาที่สมบูรณ์คือ การศึกษาที่ครบองค์สาม อันได้แก่
๑. ให้ความรู้ทางโลก หมายถึง การเรียนหนังสือ เพื่อพัฒนาสติปัญญาและการเรียนวิชาชีพ เพื่อให้สามารถอยู่รอดทางกาย
๒. ให้ความรู้ทางธรรม เพื่อให้ใจอยู่รอด คือรอดพ้นจากความครอบงำของกิเลส มีความเป็นมนุษย์ คือใจสูง ใจสว่าง และใจสงบ
๓. ให้รู้จักทำตนให้เป็นประโยชน์ ทั้งต่อตนเองและสังคม


บทที่2
สไลด์1
ครูที่แท้จริงนั้นต้องเป็นผู้ที่กระทำแต่ความดี คือ
ต้องหมั่นขยันอุตสาหะพากเพียร
ต้อง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และ เสียสละ
ต้องหนักแน่น อดทน อดกลั้น
ต้องรักษาวินัย สำรวม ระวังความประพฤติของตนให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม
ต้องปลีกตัวปลีกใจออกจากความสบาย และความ สนุกสนานร่าเริงที่ไม่ควรแก่เกียรติภูมิของตน
ต้องตั้งใจให้มั่นคงและแน่วแน่
ต้องรักษาความซื่อสัตย์ รักษาความจริงใจ
ต้องมีเมตตา และหวังดี
ต้องวางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ
ต้องมั่นอบรมปัญญาให้เพิ่มพูนสมบูรณ์ขึ้นทั้งในด้านวิทยาการ และความฉลาดรอบรู้ให้เหตุและผล

สไลด์2

คุณลักษณะที่ดีของครู หมายถึง เครื่องหมายหรือสิ่งที่ชี้ให้เห็นความดี หรือลักษณะที่ดีของครูและเป็นลักษณะที่ต้องการของสังคม
ลักษณะครู ที่ดี ควรมีความรักและความเมตตาต่อศิษย์ มีความเสียสละ หมั่นเพียรศึกษา ปรับปรุงวิธีการสอน เพื่อพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ต้องมีความ
เข้าใจและเอาใจใส่ตัวศิษย์ทุกคนเป็นกำลังใจและช่วยสร้างแรงบัลดาลใจให้กับศิษย์เพื่อให้เขาเป็นคนใฝ่เรียนรู้ เป็นแบบอย่างที่ดีมีจรรยาบรรณในวิชาชีพครู

มีจิตวิญญาณของความเป็นครู สามารถถ่ายทอดความรู้ได้เป็นอย่างดี
มีวิธีการสอนที่หลากหลาย มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความยุติธรรม ยอมรับฟังความคิดเห็น
ของผู้อื่น รวมถึงยอมรับและเข้าใจความแตกต่างของเด็กแต่ละคนด้วย
บทที่3
สไลด์1

ความเป็นมาของครู
จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึก ถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมากในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอ คณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริม ความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน

สไลด์2

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญที่นักศึกษาจะได้เรียนรู้และพัฒนาการเรียนการสอน และงานในหน้าที่ครูอย่างเข้มข้นและเป็นรูปธรรม เป็นโอกาสที่จะได้นำความรู้และทฤษฎี ไปประยุกต์ใช้ และสร้างองค์ความรู้ทางการศึกษา เพื่อสร้างสรรค์และแก้ปัญหาในกระบวนการทำงาน โดยมีครูพี่เลี้ยง อาจารย์นิเทศ และผู้บริหารสถานศึกษา เป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำ และความช่วยเหลือ

สไลด์3

จับกระแสการพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21: ข้อคิดและทิศทางเพื่อการพัฒนาครูไทย

โครงการจับกระแสความเคลื่อนไหวและนวัตกรรมในการจัดการศึกษาและพัฒนาเด็กและเยาวชน(INTREND)โดยสถาบันรามจิตติภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ได้จัดเสวนาครั้งที่ 5 เรื่องจับกระแสการพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21 : ข้อคิดและทิศทางเพื่อการพัฒนาครูไทย" กระแสการพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21 ได้กลายเป็นปรากฏการณ์สำคัญของการปฏิรูปการศึกษาทั่วโลก

สไลด์4

จากการประมวลวรรณกรรมแนวทางและนวัตกรรมการพัฒนาครูที่ดูจะถูกเน้นหนักมากในปัจจุบันน่าจะมีสาระสำคัญครอบคลุมแนวโน้มเชิงวิธีการ

5ประการคือ


สไลด์5

1) การสร้างระบบครูผู้เชี่ยวชาญเป็น Coach ประกบตัวฝึกปฏิบัติให้ครู เป็นการทำงานอย่างใกล้ชิดระหว่างครูผู้มีประสบการณ์กับเพื่อนครูในการแก้ปัญหาการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคล

การมีระบบพี่เลี้ยงและการให้คำปรึกษาหารือ (Coaching &
Mentoring
) จึงกลายเป็นกลไกและวิธีการสำคัญของการพัฒนาครูในปัจจุบัน


2) การผสมผสานกระบวนการวัดผลเข้ากับกระบวนการสอนอย่างแนบแน่น
ปรับให้ยืดหยุ่นหลากหลายใช้ได้ในหลายสถานการณ์ หลายเป้าหมายการวัด
โดยเฉพาะการวัดทักษะหรือคุณลักษณะใหม่ๆ ตามกรอบคิดร่วมสมัย

สไลด์6


3) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาครู
เพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาครูทางไกลผ่านรูปแบบ Web-Based Training ต่างๆ และเพื่อ จัดการความรู้ระหว่างครูด้วยกัน




4)การเปลี่ยนไปสู่โฉมหน้าใหม่โรงเรียนเรียนรู้
ครูนักวิจัยจากกรณีศึกษาประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศที่ต่างพยายามปรับรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนไปสู่การเป็น
องค์กรการเรียนรู้ที่เน้นให้ครู
เรียนรู้และพัฒนาตนเองจากประสบการณ์สะสมซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้น

สไลด์7


5)ยุทธศาสตร์การสร้างแรงบันดาลใจ จุดไฟพลังครู(Motivation
& Inspiration)
เน้นการค้นหาและหนุนเสริม
ครูผู้จุดไฟการเรียนรู้ครูในแบบดังกล่าวจะถูกเน้นการฝึกให้รู้จักตั้งคำถามดีๆ
เชื่อมโยงประเด็นสำคัญและตั้งโจทย์ชวนเด็กคิดได้มาก

แนวทางของการพัฒนาครูมักใช้ตัวอย่างจากครูผู้สร้างแรงบันดาลใจ

ด้วยกันมาแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดประสบการณ์หรือการเน้นให้ฝึกตั้งคำถามดลใจอันจะทำให้ผู้เรียนเกิดการใฝ่เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิตต่อไป


วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558

ความสำคัญของครู

ความสำคัญของครู

อาชีพทุกอาชีพย่อมมีความสำคัญต่อบุคคลและสังคมด้วยกันทั้งสิ้นยากที่จะกล่าวอ้างว่าอาชีพใดมีความสำคัญกว่ากัน แต่ถ้าเรามาพิจารณาเฉพาะวิชาชีพครูให้ลึกซึ้งแล้วจะเห็นว่า ผู้เป็นครูนั้นต้องรับภาระหน้าที่ต่อสังคมและชาติบ้านเมือง หากผู้เป็นครูปฏิบัติภาระที่ตนเองได้รับบกพร่อง ผลกระทบก็จะตกไปถึงความเสื่อมของสังคมและชาติบ้านเมือง เพื่อให้นักศึกษาครูได้ตระหนักถึงความสำคัญของครู จึงขออัญเชิญพระราโชวาทของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยครูณ.อาคารใหม่สวนอัมพร วันพุธที่26 พฤศจิกายน พ.ศ.2523 มากล่าวในที่นี้ ดังปรากฏข้อความตอนหนึ่งว่า

"...หน้าที่ของครูนั้นเป็นหน้าที่ที่มีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นการปลูกฝังความรู้ ความคิด และจิตใจให้แก่เยาวชน เพื่อที่จะได้เติบโต ขึ้นเป็นผลเมืองที่ดีและมีประสิทธิภาพของประเทศชาติในกาลข้างหน้า ผู้เป็นครูจึงจัดได้ว่าเป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญ ในการสร้างสรรค์บันดาลอนาคตของชาติบ้านเมือง..."

และอีกตอนหนึ่งเป็นพระราโชวาทของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยครู ณ อาคารใหม่สวนอัมพร วันพุธที่18พฤษภาคม พ.ศ.2526 ความตอนหนึ่งว่า

"...อาชีพครูถึงว่าสำคัญอย่างยิ่ง เพราะครูมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญมั่นคง และก่อนที่จะพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญได้นั้น จะต้องพัฒนาคน ซึ่งก็ได้แก่เยาวชนของชาติ เสียก่อน เพื่อให้เยาวชนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณค่าสมบูรณ์ทุกด้าน จึงจะสามารถช่วยกันสร้างความเจริญให้แก่ชาติต่อไปได้ ..."

พระราโชวาทของทั้งสองพระองค์ดังกล่าว สามารถสรุปความได้ว่า ผู้ที่เป็นครูนั้นมีความสำคัญอย่างมากเพราะครูเป็นผู้ปลูกฝังความรู้สึกความคิดและจิตใจและพัฒนาเยาวชนให้มีความเจริญในทุกๆด้าน เพื่อให้เยาวชนเหล่านั้นเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติบ้านเมืองต่อไป

จากพระราโชวาทของทั้งสองพระองค์ตามที่ได้อัญเชิญมานี้ เป็นเครื่องยืนยันให้เห็นถึงความสำคัญของบุคคลที่เป็นครูที่มีต่อความเจริญของบุคคลและชาติบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะ "ชาติบ้านเมืองจะมีความเจริญมั่นคงอยู่ได้ ก็เพราะประชาชนในชาติได้รับการพัฒนาอย่างถูกวิธี การพัฒนาคนจะดำเนินไปอย่างถูกต้องก็เพราะมีระบบการศึกษาที่ดี และระบบการศึกษาจะดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ก็เพราะมีครูที่มีคุณภาพ"

สมญานามที่เน้นให้เห็นความสำคัญของครู

ครูมีความสำคัญต่อสังคมมาก ดังนั้นสังคมจึงยกย่องครูโดยให้สมญานามต่างๆ คือ

1. ครู คือ นักปฏิวัติในสนามรบทางการศึกษา

หมายความว่า ครูเป็นผู้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการศึกษาของชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะนักปฏิวัติในสนามรบทางการศึกษา เช่น ร่วมกับคณะครูสำหรับพัฒนาการศึกษาในโรงเรียนที่ตนปฏิบัติงาน ร่วมกับคณะครูในโรงเรียนเพื่อช่วยกำหนดนโยบายสำหรับการดำเนินงานเพื่อพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน ร่วมกับคณะครูเพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สนองความต้องการท้องถิ่น ร่วมกับคณะครูเพื่อปรับปรุงวิธีการสอนให้ทันสมัย และร่วมคิดจัดสื่อการสอนให้ทันสมัย ประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด

2. ครู คือ ผู้ใช้อาวุธลับของชาติ

หมายความว่า ครูเป็นผู้คอยอบรมสั่งสอนนักเรียนนักศึกษาซึ่งเปรียบเสมือนอาวุธลับของชาติให้เป็นไปตามสังคมกำหนด ภารกิจที่ครูพึงกระทำในฐานะผู้ใช้อาวุธลับของชาติ เช่น ปลูกฝังให้ศิษย์จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ปลูกฝังให้ศิษย์ยึดมั่นในประชาธิปไตย ปลูกฝังให้ศิษย์มีความซื่อสัตย์ ปลูกฝังให้ศิษย์เข้าใจสิทธิและหน้าที่ ปลูกฝังให้ศิษย์เคารพสิทธิและหน้าที่ของบุคคลอื่น ปลูกฝังให้ศิษย์บำเพ็ญตนเป็นพลเมืองที่ดี ปลูกฝังให้ศิษย์เคารพกฎระเบียบของสังคม ปลูกฝังให้ศิษย์มีน้ำใจนักกีฬา และปลูกฝังให้ศิษย์รู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของสังคม
3. ครู คือ ทหารเอกของชาติ

หมายความว่า ครูเป็นบุคคลที่มีความเก่งมีความสามารถ เป็นผู้นำของชาติบ้านเมืองในทุกๆด้าน ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะทหารเอกของชาติ เช่น เป็นผู้นำด้านระเบียบพิธีทางศาสนาและวัฒนธรรมในชุมชมท้องถิ่น เป็นผู้เผยแพร่หลักธรรมคำสอนแก่ชุมชน เป็นผู้นำความเจริญงอกงามทางวัฒนธรรมที่ดีมาสู่ชุมชน เป็นผู้นำทางความคิดแก่ชุมชนเพื่อพัฒนาอาชีพ เป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่ชุมชม เป็นผู้นำทางการเมืองการปกครอบในระบอบประชาธิปไตย เป็นผู้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในชุมชน และเป็นผู้ประสานความเข้าใจอันดีระหว่างชุมชน

4. ครู คือ แม่พิมพ์ของชาติ

หมายความว่า ครูเป็นแบบอย่างแก่เยาวชนและบุคคลทั่วไปทั้งด้านความรู้และพฤติกรรมต่างๆ ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะแม่พิมพ์ของชาติ เช่น เป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติตามมารยาทไทย เป็นแบบอย่างที่ดีแก่การปฏิบัติตนเหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย เป็นแบบอย่างที่ดีโดยนำเอาหลักธรรมในการปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นแบบอย่างที่ดีด้านความซื่อสัตย์ เป็นแบบอย่างที่ดีด้านการประหยัดอดออม เป็นแบบอย่างที่ดีด้านการพัฒนาตนเอง เป็นแบบอย่างที่ดีในการแต่งกาย เป็นแบบอย่างที่ดีด้านสุขอนามัย เป็นแบบอย่างที่ดีด้านการบำเพ็ญตนเป็นพลเมืองดี เป็นแบบอย่างที่ดีด้านการใช้ภาษาไทย เป็นแบบอย่างที่ดีด้านความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และเป็นแบบอย่างที่ดีด้านเป็นบุคคลที่มีชีวิตในครอบครัวอย่างผาสุก

5. ครู คือ กระจกเงาของศิษย์

หมายความว่า ครูเป็นผู้คอยชี้แนะ แนะนำตักเตือนศิษย์ให้ตั้งอยู่ในความดี ไม่กระทำสิ่งที่นำความเดือนร้อนมาสู่ตัวเองหรือผู้อื่น ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะกระจกเงาของศิษย์ เช่น ตักเตือนศิษย์ที่แต่งกายไม่ถูกต้อง ตักเตือนศิษย์ที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ตักเตือนศิษย์มิให้ครบเพื่อนซึ่งมีพฤติกรรมทางเสื่อมเสีย ตักเตือนศิษย์ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวต่อเพื่อน ตักเตือนศิษย์ให้เลิกลักขโมย ตักเตือนศิษย์ให้ตรงต่อเวลา ตักเตือนศิษย์ที่มีนิสัยเกียจคร้าน ตักเตือนศิษย์ให้ไม่เลียนแบบพฤติกรรมไม่ดีงานจากบุคคลที่มีชื่อเสียง และตักเตือนศิษย์มิให้ปฏิบัติตามค่านิยมไม่ดีงามบางอย่าง

6. ครู คือ ดวงประทีปส่องทาง

หมายความว่า ครูเป็นผู้ให้ความรู้ให้ปัญญาแก่เยาวชน คนที่มีปัญญาย่อมมองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนมีดวงประทีปส่องทางให้กับตนเองตลอดเวลา ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะดวงประทีปส่องทาง เช่น ให้ความรู้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ สอนศิษย์ให้รู้จักพิจารณาสิ่งต่างๆ สอนให้ศิษย์ละเว้นความชั่วทั้งปวง สอนให้ศิษย์ประพฤติแต่สิ่งดีงาม แนะนำศิษย์ให้สำรวจว่าตนเองมีความสามารถด้านใด แนะแนวอาชีพที่ตรงกับความถนัดของศิษย์ ให้ความรู้ทันสมัยแก่ศิษย์เพื่อให้ศิษย์เป็นคนทันโลกทันเหตุการณ์ แนะนำแหล่งวิทยาการแก่ศิษย์ และแนะนำสิ่งที่เป็นบุญกุศลแก่ศิษย์

7. ครู คือ ผู้สร้างโลก

หมายความว่า ครูเป็นผู้พัฒนาคนให้มีความรู้ความสามารถเพื่อให้คนเหล่านั้นไปพัฒนาสังคมประชาชาติ ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะผู้สร้างโลก เช่น สอนให้ศิษย์เป็นนักคิด สอนให้ศิษย์มีจิตใจที่เข้มแข็ง สอนให้ศิษย์ขยัน สอนให้ศิษย์สร้างครอบครัวที่มั่นคง สอนให้ศิษย์ใช้ความรู้ความสามารถให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม สอนให้ศิษย์สามัคคี และสอนให้ศิษย์พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

8. ครู คือ ผู้กุมความเป็นความตายของชาติไว้ในกำมือ

หมายความว่า ชาติจะเจริญก้าวหน้าหรือล้มสลายก็เพราะครู ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะผู้กุมความเป็นความตายของชาติไว้ในกำมือ เช่น ไม่สอนวิชาที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาแก่ศิษย์ ไม่แนะนำสิ่งผิดให้นักเรียน ไม่ยุยงให้ศิษย์สร้างความแตกร้าวในสังคม ไม่แสดงความคิดเห็นที่เป็นมิจฉาทัฏฐิให้ศิษย์ในที่สาธารณะ ไม่สอนศิษย์เพียงให้พ้นหน้าที่ประจำวัน ไม่เป็นผู้ก่อความแตกร้าวทางความคิดให้แก่คนในชาติ และไม่อาศัยชื่อเสียงหรือบารมีของตนเพื่อสร้างความสับสนให้กับสังคม

9. ครู คือ ปูชนียบุคคล

หมายความว่า ครูเป็นบุคคลที่มีความน่าเคารพบูชาของศิษย์และบุคคลทั่วไป ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะปูชนียบุคคล เช่น ลดละเลิกพฤติกรรมที่เป็นความชั่วทางกายทั้งปวง ฝึกฝนให้ตนมีวจีสุจริต ฝึกให้ตนมีมโนสุจริต พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องทั้งกายและใจ และพยายามสั่งสมวิชาความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม

10. ครู คือ วิศวกรสังคม

หมายความว่า ครูเป็นนักสร้างให้เป็นไปตามทิศทางที่สังคมต้องการ เนื่องจากปัจจุบันสังคมยกย่องให้ครูเป็นวิศวกรทางสังคม เพราะครูทำหน้าที่เสมือนวิศวกรทางด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ งานของครูในฐานะเป็นวิศวกรสังคม มีดังนี้ ครูทำงานวิจัย ครูทำงานพัฒนา ครูทำงานออกแบบ ครูทำงานผลิต ครูทำงานก่อนสร้าง ครูทำงานควบคุมโรงเรียน ครูทำงานทดสอบ ครูทำงานการขายและการตลาด ครูทำงานบริหาร ครูทำงานที่ปรึกษา และครูทำงานการศึกษาโดยตรง

ความสำคัญของครูในฐานะเป็นวิศวกรสังคม

การที่ครูได้รับการยกย่องให้เป็นวิศวกรสังคมก็เพราะครูมีบทบาททางสังคมเช่นเดียวกับงานวิศวกรในฐานะนักวิทยาศาสตร์ประยุกต์ได้กระทำ กล่าวคือ ครูเป็นนักสร้าง ออกแบบ แก้ไข ปรับปรุง และเป็นนักพัฒนาคน ด้วยเหตุนี้สังคมจึงยกย่องให้ครูเป็นวิศวกรสังคม งานของครูในฐานะที่เป็นวิศวกรสังคมที่สำคัญจึงมีดังนี้

1. ครูทำงานวิจัย ผู้ประกอบวิชาชีพครูต้องพยายามศึกษาค้นคว้าวิจัยตั้งแต่ระดับง่ายจนถึงขั้นสลับซับซับซ้อนเพื่อแก้ปัญหาการเรียนการสอน เช่นแก้ปัญหาการหนีเรียนของนักเรียน นักเรียนขาดเรียนโดยไม่ทราบสาเหตุ วิจัยเพื่อปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน

2. ครูทำงานพัฒนา ครูนำความรู้ที่ได้จากการค้นคว้าทดลองทางการศึกษาและจิตวิทยาไปทดลองใช้ในการเรียนการสอน เพื่อหาความเหมาะสมและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จุดมุ่งหมายที่สำคัญยิ่งคือ “การพัฒนาคน

3. ครูทำงานออกแบบ ออกแบบด้านกระบวนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับพื้นฐานความสามารถของนักเรียน และให้สอดคล้องกับวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการประกอบการสอนระดับต่างๆ

4. ครูทำงานการผลิต ครูให้ความรู้ความสามารถแก่นักเรียนนักศึกษาก่อนที่เขาเหล่านั้นจะออกไปรับใช้สังคม ครูจะต้องทดสอบครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อให้ผลิตผลของครูเป็นบุคคลที่มีคุณภาพตามที่สังคมต้องการ

5. ครูทำงานก่อสร้าง สร้างพฤติกรรมของคนให้เป็นไปตามรูปแบบที่สังคมส่วนใหญ่ต้องการ ซึ่งเป็นงานที่มีความยุ่งยากซับซ้อนมากกว่าการก่อสร้างตึกสร้างอาคารบ้านช่องเท่าใดนัก

6. ครูทำงานควบคุมโรงเรียน หากครูสามารถควบคุมดูแลโรงเรียนให้สะอาดเรียบร้อยตกแต่งอาคารบริเวณสวยงาม มีบรรยากาศน่าอยู่น่าเรียน นักเรียนในโรงเรียนอยู่ด้วยกันด้วยความรักสามัคคี สภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมดี การจัดกระบวนการเรียนการสอนในโรงเรียนนั้นก็จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งส่งผลไปถึงผลผลิตของโรงเรียนคือ นักเรียนจะต้องมีคุณภาพด้วยอย่างแน่นอน

7. ครูทำงานทดสอบ ครูจะเป็นผู้รับผิดชอบในการออกแบบการทดสอบและดำเนินการทดสอบเองตามความเหมาะสม

8. ครูทำงานการขายและการตลาดครูต้องเป็นบุคคลสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับชุมชน โรงเรียนเปรียบเสมือนบริษัทหรือโรงงานผลิตสินค้า นักเรียนคือสินค้า ส่วนชุมชนหรือสังคมเปรียบเสมือนผู้ซื้อหรือลูกค้า ถ้าผู้เรียนมีคุณภาพดีแสดงว่าเป็นที่ต้องการของตลาดมากครูก็มีคุณภาพ

9. ครูทำงานบริหาร ผู้เป็นครูทุกคนจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจ ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างผู้บริหารระดับต่างๆ

10. ครูทำงานที่ปรึกษา งานของครูทุกระดับชั้นต้องเกี่ยวข้องกับการให้คำปรึกษาแก่ศิษย์ และบางครั้งต้องให้คำปรึกษาแก่ประชาชนในชุมชนใกล้เคียงสถานศึกษาด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คำปรึกษาแก่ศิษย์นั้นสำคัญยิ่ง

12. ครูทำงานการศึกษาโดยตรงงานการศึกษาเป็นงานของครูโดยตรงครูต้องรับผิดชอบกับการศึกษาทุกระดับชั้น ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษา รับผิดชอบในการสร้างคุณภาพของคนเพื่อให้คนไปสร้างสังคมต่อไป

ความสำคัญของครูต่อการพัฒนาเยาวชน

งานสำคัญของครูในการพัฒนาเยาวชนได้แก่ การให้ความรู้เชิงวิชาการเพื่อเป็นฐานในการศึกษาเล่าเรียน และประกอบอาชีพให้ความรู้สึกพยายามให้เยาวชนมีความสำนึกว่าอะไรดี อะไรไม่ดี อะไรควร และอะไรไม่ควรให้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักคิดเพื่อแก้ไขปัญหา

บทบาทของครูต่อการพัฒนาเยาวชนถือว่าเป็นงานที่สำคัญมาก ครูจะทำหน้าที่ในฐานะเป็นวิทยากรสังคมได้สมบูรณ์มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการพัฒนาของเยาวชน

ความสำคัญของครูต่อการพัฒนาสังคม

1.ให้การศึกษาและความรู้แก่ประชาชนทั่วไป

2.เป็นผู้นำหรือริเริ่ม ปรับปรุงความเป็นอยู่ของสังคมและวัฒนธรรม

3.เป็นผู้ปรับปรุงส่งเสริม

4.เป็นที่ปรึกษาแก่ชุมชน

5.เป็นผู้สร้างความตื่นตัว

6.เป็นผู้อำนวยความสะดวกและประสานงาน

ความสำคัญของครูต่อการพัฒนาการเมืองการปกครอง

1.ให้ความรู้ความเข้าใจแก่เยาวชนและประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับระบบการปกครองประเทศ

2.ฝึกหัดให้เยาวชนในสถานศึกษานำรูปแบบการปกครองประเทศมาใช้กับการดำเนินกิจกรรมบางอย่างในสถานศึกษา

3.ครูเป็นตัวแทนของรัฐในการเชิญชวนให้ประชาชนไปใช้สิทธิ์ใช้เสียงในการเลือกตั้ง

4.สร้างค่านิยมระบอบประชาธิปไตยแก่ประชาชน

5.แนะนำประชาชนในท้องถิ่นมิให้เห็นแก่อามิสสินจ้างรางวัล การซื้อสิทธิขายเสียง

ความสำคัญของครูต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ

1.สอนนักเรียนที่ตัวครูเองรับผิดชอบอยู่ให้เต็มเวลา เมหลักสูตร เต็มความสามารถ

2.ส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษาได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด

3.ส่งเสริมกิจกรรมด้านสหกรณ์ร้านค้าในโรงเรียนอย่างจริงจัง

4.ส่งเสริมการออมทรัพย์ของครูและนักเรียน

5.ให้คำปรึกษาแนะนำกระตุ้นเร่งเร้าหรือเร่งงานอาชีพใหม่ๆ

6.ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆเพื่อจัดฝึกอาชีพใหม่ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น

7.ให้ความรู้และส่งเสริมสุขภาพอนามัยของคนในชุมชน

8.ส่งเสริมการผลิตและแนะนำเทคโนโลยีใหม่ๆ

ความสำคัญของครูต่อการส่งเสริมความมั่นคงทางศาสนาและวัฒนธรรม

1.มีความเลื่อมใสศรัทธาในสิ่งที่ตนนับถือ

2.ศึกษาหาความรู้ความเข้าใจให้ถูกต้องในหลักธรรมคำสอนที่ตนนับถือ

3.นำหลักธรรมคำสอนมาปฏิบัติ

4.ปฏิบัติศาสนกิจเป็นประจำ

5.ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เยาวชน

6.ศึกษาค้นคว้าและทำการวิจัยทางวัฒนธรรมต่างๆ

7.เลือกสรรวัฒนธรรมที่ดีงามเพื่อนำไปถ่ายทอดให้กับเยาวชนอย่างเหมาะสม

8.ศึกษาหาวิธีที่จะถ่ายทอดวัฒนธรรมให้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากขึ้น

9.ปรับปรุงเนื้อหาสาระในวิชาการต่างๆ

10.สอดแทรกวัฒนธรรมบางสิ่งบางอย่าง โดยเฉพาะด้านคติธรรม

11.ครูและอาจารย์ทุกคนต้องร่วมมือกันจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมที่พึงประสงค์อยู่เสมอ

12.ครูและอาจารย์ทุกคนต้องได้รับการพัฒนาความคิดและเจตคติที่ดีต่อวัฒนธรรม

13.ครูอาจารย์ทุกคนต้องประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างตามวัฒนธรรมที่ดีงามของชาติ

14.ศึกษาค้นคว้าและทำการวิจัยทางวัฒนธรรมต่างๆ และนำผลการวิจัยเผยแพร่แก่ชุมชนให้มีความรู้

15.จัดห้องวัฒนธรรมในสถานศึกษาให้ทั่วถึง เพื่อเป็นที่รวบรวมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม

ในอดีตครูมีความสำคัญต่อบุคคลและสังคมมาก แต่ในปัจจุบันความสำคัญของครูเปลี่ยนไป มีสาเหตุหลายประการที่ทำให้ความสำคัญของครูในอดีตกับครูในปัจจุบันแตกต่างกัน เช่น

1. จำนวนครู

ในอดีต จำนวนครูมีน้อย คนที่จะมาเป็นครูได้นั้นจะต้องมีการคัดเลือกผู้ที่มี สติปัญญาดี และมีนิสัยเหมาะสมที่จะเป็นครู สามารถประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่าง แก่ลูกศิษย์ได้ ดังนั้น ความสำคัญของครูจึงมีมาก

ในปัจจุบัน การศึกษาขยายตัวอย่างรวดเร็ว จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่ม จำนวนครูให้มากขึ้น และมีคนเป็นจำนวนมากที่มิได้ศรัทธาที่จะเป็นครู แต่จำเป็นต้อง ประกอบอาชีพนี้เพียงเพื่อให้มีโอกาสได้งานทำ จึงทำให้ครูบางคนมีพฤติกรรมที่ ไม่ เหมาะสมกับการเป็นครูไม่มีศรัทธาในวิชาชีพที่ทำอยู่

2. หลักสูตรการสอน

ในอดีต ตัวครู” คือ “หลักสูตรครูมีความสามารถในเรื่องใด หรือมีวิธีการ สอนอย่างใดก็สอนกันไปเช่นนั้น ครูมีความสำคัญมากในการที่จะดูแลปรับปรุงพฤติกรรม ของเด็ก

ในปัจจุบัน หลักสูตรการเรียนการสอนในระดับต่าง ๆ มีมาก และแต่ละ สาขาวิชาก็จะมีครูเฉพาะสาขาวิชาทำการสอนในวิชานั้น ๆ อยู่ นักเรียนจะมีโอกาสได้ เรียนกับครูหลาย ๆ คน ทำให้ความผูกพันระหว่างครูกับนักเรียนลดน้อยลง นักเรียนจะ ไม่ค่อยเห็นคุณค่าความสำคัญของครูเท่าใดนัก 3. จำนวนนักเรียน

ในอดีต จำนวนประชากรมีน้อยกว่าปัจจุบันมาก ผู้ที่สนใจจะเรียนหนังสือก็ มีจำนวนไม่มาก ครูผู้สอนแต่ละคนสามารถดูแลอบรมนักเรียนได้อย่างทั่วถึง มีความ ผูกพันซึ่งกันและกัน

ในปัจจุบัน จำนวนนักเรียนในแต่ละระดับ แต่ละห้องมีมากขึ้น ครูบางคน ต้องสอนนักเรียนหลายห้อง เมื่อสอนหมดชั่วโมงหนึ่งก็ต้องรีบไปสอนต่ออีกห้องต่อไป ทำ ให้ความผูกพันใกล้ชิดกันระหว่างครูกับลูกศิษย์ลดน้อยลงตามลำดับ

4. อนาคตของศิษย์

ในอดีต คนที่มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียนเกือบทุกคนจะได้ดีมีงานทำ

ในปัจจุบัน คนที่เรียนหนังสือมีมากขึ้น เมื่อเรียนสำเร็จแล้วต้องแย่งกันหา งานทำ แต่งานมีจำนวนน้อย เพราะฉะนั้น คนที่เรียนสำเร็จแล้วไม่มีงานทำจะมีมากและ เป็นพวกที่ไม่เห็นความสำคัญของครูเท่าไรนัก

5. ความรู้สึกของศิษย์และผู้ปกครอง

ในอดีต ลูกศิษย์เรียนจบมีงานทำดีๆ ทั้งลูกศิษย์และผู้ปกครองมักจะ นึกถึงบุญคุณครูที่เคี่ยวเข็ญและสั่งสอนมา

ในปัจจุบัน ลูกศิษย์มักจะไม่นึกถึงบุญคุณครูเท่าไรนัก เพราะครูไม่ได้ ใกล้ชิดสั่งสอนอบรมลูกศิษย์เช่นครูในอดีต

จากเหตุผลดังกล่าว ทำให้ความสำคัญของครูในอดีตและปัจจุบันมีความแตกต่างกัน ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงความสำคัญของครูมิได้ลดน้อยลงไปเลย ครูยังคงมีบทบาทและ ความสำคัญอยู่เสมอ เพียงแต่คนบางกลุ่มมิได้เห็นว่าครูมีความสำคัญต่อตนเช่นเดียวกับ ลูก ศิษย์ในสมัยก่อน

แต่ไม่ว่าจะเป็นอดีต ปัจจุบันหรืออนาคต ครูย่อมมีความสำคัญต่อสังคม ประเทศชาติและแม้แต่โลกกล่าวคือ ตราบใดที่สังคมมนุษย์ยังสามารถผลิตสมาชิกใหม่ให้สังคม ความต้องการครูก็จะยังมีอยู่ตลอดไปมีข้อจำกัดอยู่แต่เพียงในเรื่องจำนวนและความสามารถของครูในด้านต่างๆทั้งนี้เพราะปัจจุบันโลกได้พัฒนาไปมากเช่นเดียวกัน ดังนั้นความต้องการใช้ครูจึงต้องให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมด้วย

สรุปเนื้อหาเรื่องความสำคัญของครู

ความสำคัญของวิชาชีพครู

อาชีพทุกอาชีพย่อมมีความสำคัญต่อบุคคลและสังคมด้วยกันทั้งนั้น เป็นการยากที่ จะบ่งบอกว่า อาชีพใดสำคัญกว่าอาชีพใด แต่ในที่นี้เราจะพิจารณาเฉพาะอาชีพครูว่ามีความสำคัญต่อสังคมและประเทศชาติเพียงใด จึงขออัญเชิญพระราโชวาทของสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จ การศึกษาจากวิทยาลัยครู ณ อาคารใหม่สวนอัมพร วันพุธที่18 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 ความตอนหนึ่งว่า

“.....อาชีพครูถือว่าสำคัญอย่างยิ่ง เพราะครูมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศ ให้เจริญมั่นคง และก่อนที่จะพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญได้นั้น จะต้องพัฒนาคน ซึ่งได้แก่ เยาวชนของชาติเสียก่อน เพื่อให้เยาวชนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณค่าสมบูรณ์ทุกด้านจึงสามารถช่วยกันสร้างความเจริญให้แก่ชาติต่อไปได้......

จากพระราโชวาทของสมเด็จพระเทพฯ ตามที่ได้อัญเชิญมากล่าวไว้ข้างต้น เป็น เครื่องยืนยันให้เห็นถึงความสำคัญของครูที่มีต่อความเจริญของบุคคล และชาติบ้านเมือง เป็นอย่างยิ่ง ชาติบ้านเมืองจะเจริญได้เพราะประชาชนในชาติได้รับการศึกษาที่ดี และมีครู ที่มีคุณภาพ

สมญานามที่เน้นให้เห็นความสำคัญของครู

1.ครูคือนักปฏิวัติในสนามรบทางการศึกษา

2.ครูคือผู้ใช้อาวุธลับของชาติ

3.ครูคือทหารเอกของชาติ

4.ครู คือ แม่พิมพ์ของชาติ

5.ครู คือ กระจกเงาของศิษย์

6.ครู คือ ดวงประทีปส่องทาง

7. ครู คือ ผู้สร้างโลก

8.ครู คือ ผู้กุมความเป็นความตายของชาติไว้ในกำมือ

9.ครู คือ ปูชนียบุคคล

10.ครู คือ วิศวกรสังคม

จากที่กล่าวมาตั้งแต่ต้น ก็เพื่อที่จะสื่อถึงทุกคนให้ทราบว่า ทุกคนเกิดมาในโลกนี้ล้วนมีครูด้วยกันทั้งสิ้น ไม่มีใครที่รู้โดยไม่มีครู สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนที่พระองค์จะทรงได้รับการยกย่องให้ทรงเป็นศาสดาเอกของโลก พระองค์ก็มีครู พระองค์เคยได้รับการอบรมสั่งสอนในฐานะศิษย์ตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ จนเสด็จออกแสวงหาทางพ้นทุกข์ ในเบื้องต้นก็ยังต้องดำเนินมรรคาในฐานะศิษย์ของผู้รู้ในสมัยนั้น หากคุณความดีของบทความนี้จะพอมีประโยชน์แก่ผู้อ่านอยู่บ้างก็ขอน้อมเป็นเครื่องสักการะเพื่อบูชาคุณความดีของครูผู้ยิ่งใหญ่ มีบิดามารดา ครูและบูรพาจารย์ รวมถึงผู้ให้แสงสว่างชี้นำทางชีวิต ด้วยคารวะสูงยิ่ง

ไม่ว่าครูจะมีความรู้ความสามารถหรือความถนัดแตกต่างกันเพียงใด แต่บทบาทของครูโดยส่วนรวมแล้ว จะยังอยู่ในลักษณะเดียวกัน กล่าวคือ นอกจากครูจะต้องรับบทบาทเป็นผู้สอนคนให้มีความรู้ความสามารถทางด้านวิชาการต่างๆ แล้ว ครูยังจะต้องรับบทบาทในการพัฒนาประเทศชาติในด้านต่างๆอีก เช่นการพัฒนาสังคม การเมือง เศรษฐกิจ ศาสนาและวัฒนธรรม เป็นต้น ดังนั้น ครูจึงต้องรับบทหนักทั้งในอดีตและปัจจุบัน และเป็นบทบาทในการสร้างสังคมในด้านต่างๆให้มีความเจริญก้าวหน้า จนกระทั่งในปัจจุบันนี้ได้มีผู้ให้สมญานามแก่ครูว่าเป็น วิศวกรสังคม ซึ่งหมายถึง ช่างผู้ชำนาญในการสร้างสังคมนั่นคือ หากครูให้การศึกษาแก่สมาชิกแก่สังคมอย่างไร สังคมก็จะเป็นอย่างนั้น เช่น ให้การศึกษาเรื่องระบอบประชาธิปไตยอย่างถูกต้อง สังคมก็จะเป็นประชาธิปไตย หากครูให้การศึกษาในระบอบอื่นสังคมก็จะเป็นเช่นนั้นด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น